ข่าวคนไทยในอเมริกา
หนุ่มไทยคว้าสี่แสนเหรียญ จาก’สตาร์ทอัพ’ช่วยชาวนา


ปีตาชัย เดชไกรศักดิ์




ปีตาชัย เดชไกรศักดิ์ (ซ้ายสุด) กับ จอส เก็ด (สามจากซ้าย) และฮัลลี แบร์รี่ (สองขวา) และผู้รับรางวัลอื่นๆ




บรรจุภัณฑ์ข้าว“แจสเบอร์รี่” ของสยามออร์แกนิค




ปีตาชัย เดชไกรศักดิ์ ยกมือไหว้ขอบคุณผู้ชมหลังทราบผลการตัดสิน




แอลเอ (สยามทาวน์ยูเอส) : หนุ่มไทย “ปีตาชัย เดชไกรศักดิ์” รับรางวัลใหญ่สุดของ “ชีวาส เวนเจอร์” ปี 2017 มูลค่าสี่แสนดอลลาร์ จากการ “สตาร์ทอัพ” บริษัท สยามออร์แกนิค จำกัด ซึ่งนำนวตกรรมและการตลาดแนวใหม่มา “ยกระดับ” ความเป็นอยู่ให้กับชาวนาไทย

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2017 ได้มีการประกาศผลการรางวัล “ชีวาส เวนเจอร์” หรือการประกวดโมเดลธุรกิจ “สตาร์ทอัพ” จากทั่วโลกรวม 30 ธุรกิจ ที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับสังคม โดยรางวัลที่หนึ่งของการประกวดที่มีวิสกี้ ชีวาส รีกัล เป็นสปอนเซอร์นี้ มีมูลค่าถึง 400,000 ดอลลาร์

โดยงานใหญ่ ที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงและนักแสดงชื่อดังมาร่วมมากมายดังกล่าวจัดขึ้น ณ ลอส แอนเจลิส ดีไซน์ เซ็นเตอร์ ในย่านเวสท์ ฮอลลีวูด มี จอส เก็ด ดาราดังผู้รับบทเป็นเลอฟู ในภาพยนตร์เรื่อง Beauty and the Beast เป็นพิธีกร และมีดาราออสก้าร์ ฮัลลี แบร์รี่ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ รวมถึงมีดาราออสก้าร์ ฮาเวียร์ บาร์เดม และ ดอน ชีเดล มาร่วมเป็นเกียรติในงานด้วย

โดยรางวัลที่หนึ่งของ ชีวาส เวนเจอร์ ดังกล่าว ตกเป็นของนายปีตาชัย เดชไกรศักดิ์ ซีอีโอ บริษัท สยามออร์แกนิค จำกัด อันเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ทำงานร่วมกับกลุ่มชาวนาไทยในการปลูกข้าวอินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ที่ปราศจาก GMO (ปราศจากการตัดต่อพันธุกรรม) เรียกว่า “แจสเบอร์รี่”  สีม่วงเข้ม รวมถึงการทำตลาดที่เน้นตลาดบน และการส่งออกเป็นหลัก ทำให้ชาวนากลุ่มนี้มีรายได้ที่ดีขึ้น

“ในปัจจุบันชาวนากว่า 17 ล้านคนในประเทศไทยมีต้นทุนการทำนาที่สูงที่สุดแต่กลับมีรายได้ต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรายได้เฉลี่ยเพียงวันละประมาณ 14 บาท ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนถึงหกเท่า เราจึงได้พัฒนาสินค้าจากข้าวที่เป็นผลผลิตมาจากเกษตรกรรายย่อยโดยตรง จัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ Jasberry และเจาะตลาดผู้บริโภคที่รักสุขภาพในต่างประเทศ เรามีการฝึกอบรมเกษตรกรเรื่องการปลูกข้าวอินทรีย์มาตรฐานสากล คัดคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 14 เท่า  ชาวนาหลายรายสามารถปลดหนี้ได้จนหมดสิ้นแล้วในปัจจุบัน และมีที่นาอินทรีย์ให้ลูกหลานได้สานต่อและประกอบเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน” ปีตาชัย เดชไกรศักดิ์ พูดถึงงานของเขา ระหว่างการนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการ หนึ่งวันก่อนมีการประกาศผล

เมื่อทราบผลการประกวด ปีตาชัย เดชไกรศักดิ์ กล่าวว่าเขามีความสุข และรู้สึกขอบคุณอย่างมาก เพราะรางวัลนี้มีผลกับธุรกิจของเขาอย่างใหญ่หลวง

“เรามีเงินทุนจำกัดอย่างมาก ดังนั้นการมีเงินทุนแบบนี้จาก ชีวาส เวนเจอร์ หมายถึงทางสะดวกของเราอย่างน้อย 3-4 ปีข้างหน้า ช่วยไม่ให้ผมต้องผมหงอก และนอนไม่หลับได้หลายคืนทีเดียว”

รางวัลที่สอง ซึ่งได้รับเงินรางวัล 200,000 ดอลลาร์ เป็นของธุรกิจสตาร์ทอัพจากไนจีเรีย ชื่อ รีไซเคิลพอยท์ เน้นการแก้ไขปัญหาขยะในไนจีเรีย ส่วนรางวัลที่สาม ซึ่งมีสามรางวัล ได้รับเงินรางวัลรายละ 50,000 ดอลลาร์ ได้แก่ 1 Bioestibas ของโคลัมเบีย ที่ลดการใช้ไม้ในการทำพาเล็ต (pallet) โดยใช้ก้านดอกไม้ที่เหลือทิ้งในอุตสาหกรรมไม้ดอกมาทดแทน, 2 iDrop  กับธุรกิจสถานีกรองน้ำตามร้านค้าปลีก เพื่อลดการใช้ขวดน้ำพลาสติกในอัฟริกาใต้ และ 3 Intendu ซึ่งเป็นนวตกรรมใหม่ในการฟื้นฟูประสาทสมองโดยใช้สิ่งที่เรียกว่า โมชั่นคอลโทรลเลอร์ เกมมิ่ง โดยรางวัลทั้งหมดดังกล่าวนี้ รวมแล้วมีมูลค่าประมาณหนึ่งล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ เรื่องราวของ ปีตาชัย เดชไกรศักดิ์ และสยามออร์แกนิค จำกัด เคยปรากฎเป็นข่าวของ กรุงเทพธุรกิจ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2015 โดยข่าวบอกว่าเขาจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย สาขา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์ ก่อนมาต่อโท MBA ที่สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์

จากการตะหนักถึงปัญหาความยากจนของชาวนาไทย ที่เฉลี่ยแล้วมีรายได้ไม่ถึง 500 บาทต่อเดือน  ขณะที่หนี้สินพอกพูน ทำเขาตัดสินใจเดินสู่ถนนกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) โดยลงมือก่อตั้ง “สยามออร์แกนิค” ขึ้น เพื่อมุ่งแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรรายย่อยในภาคอีสาน มื่อปี 2011 โดยตั้งใจใช้ “นวัตกรรม” มาสร้างสินค้าที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค

เขามองว่าปัญหาใหญ่ของชาวนาไทยมีสามด้าน คือเมล็ดพันธุ์ไม่ดี ตลาดไม่แน่นอน และผลผลิตต่ำ จึงทำการแก้ไขปัญหาทีละด้าน โดยในส่วนของเมล็ดพันธุ์นั้น เขาปรึกษากับนักวิจัยผู้พัฒนาพันธุ์ข้าว จนได้พบกับ “ข้าวแจสเบอร์รี่” พันธุ์ข้าวออร์แกนิคที่มีคุณภาพสูง ผลผลิตจากงานวิจัยของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนปัญหาการตลาด เขาแก้ไขปัญหาโดยการให้ราคารับซื้อที่สูงขึ้น  สูงกว่าข้าวหอมมะลิถึง 2 เท่า และการันตีรับซื้อข้าวทุกเมล็ด เพื่อจูงใจให้ชาวนามาร่วมเครือข่ายกับพวกเขาให้มากขึ้น ปิดท้ายกับ ผลผลิตต่ำ ก็ไปแก้ปัญหาเรื่องปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย การบริหารจัดการน้ำ ฯลฯ ตลอดจนส่งทีมงานเข้าไปอบรมให้เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของการทำตลาดนั้น สยามออร์แกนิค ทำการพัฒนาให้ฉีกจากผลิตภัณฑ์ชุมชนทั่วๆ ไป เช่นรูปลักษณ์ที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน พร้อมยกระดับขึ้นห้างฯ และทำตลาดส่งออก ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย

“กว่า 3 ปี ที่ทำงานกับเกษตรกรมา ผลผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 40% มีเกษตรกรในเครือข่าย 600 ราย ซึ่งรายได้เขาสูงมากกว่าเกษตรกรในที่อื่นๆ ถึงเกือบ 8 เท่า! ปีที่แล้วรวมรายได้ของทั้งกลุ่มเพิ่มขึ้นประมาณ 8 ล้านบาท นี่เป็นผลลัพธ์ที่บริษัทเล็กๆ บริษัทหนึ่ง ได้สร้างขึ้น” เขากล่าว.

 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส
24-04-2024 จับ (ซะที) สามโจรทุบร้านไทยและ ฯลฯ กว่า 130 แห่งในแคลิฟอร์เนีย (0/254) 
23-04-2024 เตรียมปรับผังแอลเอเอ็กซ์ครั้งใหญ่ รับ “บอลโลก-โอลิมปิก (0/69) 
22-04-2024 จับโจร “งัดแมนชั่น” นายกเทศมนตรีเมืองแอลเอ (0/169) 
19-04-2024 เอาให้ชัด! ฟาสต์ฟู้ดแคลิฟอร์เนียแพงขึ้นเท่าไหร่ หลังปรับค่าแรง 20 เหรียญ (0/261) 
17-04-2024 รายได้เท่าไหร่ ถึงจะอยู่แบบ “สบายๆ” ในแคลิฟอร์เนีย (0/272) 

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




  • ¤ÇÒÁ¤Ô´àËç¹·Õè : 2

ดีใจด้วยครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ศึกษาเรื่องนี้มา7ปีแล้วครับ พอเข้าใจว่าต้องทำอย่างไรในการทำ(ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต ปลอดภัย) ดีใจครับที่ได้เกิดเป็นลูกชาวนาไทย

  • ¼ÙéÊè§: นายธันยบูรณ์ นบนอบ
  • 223.24.68.121 Aug 06, 2017 @08:31 PM
ฉบับที่
599
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข