ข่าวคนไทยในอเมริกา
บทความ : ประเทศใดเป็นเจ้าของ “มงกุฎจักรวาล” มากที่สุด

การประกวดมิสยูนิเวิร์ส หรือที่คนไทยเคยคุ้นปากในชื่อ “นางงามจักรวาล” ได้กลายเป็นเวทีประชันสาวงามระดับโลก ที่ปักธงว่าเป็นเวทีที่สนับสนุนผู้หญิงให้ใช้ “ความมั่นใจในตัวเอง” นำทางไปสู่ความสำเร็จในชีวิต มาตั้งแต่ปี 1952 หรือกว่า 70 ปีมาแล้ว

หนึ่งในเป้าหมายหลักของเวทีมิสยูนิเวิร์ส ตามที่บอกเอาไว้ในเว็บไซต์ขององค์กร คือการ “สร้างและจัดเตรียม “จุดยืนที่ปลอดภัย” ให้ผู้หญิงใช้แบ่งปันเรื่องราวและขับเคลื่อนแรงจูงใจต่างๆ ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องอาชีพการงาน และการทำงานเพื่อส่วนรวมต่างๆ

นับจากปี 1955 ที่การประกวดมิสยูนิเวิร์ส ได้รับการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ (และอีกหลายประเทศทั่วโลก) เป็นต้นมา เวทีนี้ก็ได้กลายเป็นเวทีสรรหาสาวงามที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในโลก เฉพาะในอเมริกานั้นเคยมีผู้ชมถ่ายทอดสดมากถึงเกือบสามล้านคนในปี 2022

และการประกวดมิสยูนิเวิร์สปี 2023 ที่กำลังจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายนนี้ ที่ โฮเซ่ อะดอลโฟ่ พิเนด้า อารีน่า ในเมืองซาน ซัลวาดอร์ ของประเทศเอลซาวาดอร์ ถือเป็นการประกวดครั้งที่ 72 และเป็นปีที่มีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ นั่นคือการยอมรับผู้เข้าประกวดที่แต่งงานแล้ว รวมถึงผู้ที่เป็นคุณแม่ ด้วย

ว่ากันว่า การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆ ตามความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยนี่เอง คือสาเหตุที่ทำให้เวทีมิสยูนิเวิร์ส เป็นเวทีประชันสาวงามมีอายุยืนยาวที่สุดในโลก

ก่อนที่เราจะร่วมกันเชียร์มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ “แอนโทเนีย โพซิ้ว” ที่บอกว่า “พร้อมเกินร้อยที่จะพิชิตมงกุฎมิสยูนิเวิร์สกลับเมืองไทยให้ได้” นั้น เรามาลองดูกันสิว่าประเทศไหนที่สาวงามสามารถคว้ามงกุฎมิสยูนิเวิร์ส กลับไปประดับเกียรติได้มากที่สุด

:-สหรัฐอเมริกา (9 มงกุฎ)

อเมริกาเป็นเจ้าของมงกุฎมิสยูนิเวิร์สตั้งแต่เริ่มการประกวดครั้งแรกในปี 1952 จากนั้นก็คว้ามงกุฎต่อเนื่องมาเป็นระยะ จนถึงปีล่าสุดคือ 2022 โดยมิสยูเอสเอ ที่เป็นเจ้าของมงกุฎมิสยูนิเวิร์สทั้ง 9 คือ

-Miriam Stevenson (1954)
-Carol Morris (1956)
-Linda Bement (1960)
-Sylvia Hitchcock (1967)
-Shawn Weatherly (1980)
-Chelsi Smith (1995)
-Brook Lee ( 1997)
-Olivia Culpo (2012)
-R’Bonney Gabriel (2022)

:-เวเนซุเอล่า (7 มงกุฎ)
นอกจากเป็นเจ้าของมงกุฎมิสยูนิเวิร์สถึง 7 มงแล้ว สาวงามจากเวเนฯ ยังเคยสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการคว้ามงกุฎสองปีซ้อนด้วย นั่นคือปี 2008 และ 2009

-Maritza Sayalero (1979)
-Irene Sáez (1981)
-Bárbara Palacios (1986)
-Alicia Machado (1996)
-Dayana Mendoza (2008)
-Stefanía Fernández (2009)
-Gabriela Isler (2013)

:-ปัวโตริโก้ (5 มงกุฎ)

-Marisol Malaret (1970)
-Deborah Carthy Deu (1985)
-Dayanara Torres (1993)
-Denise Quiñones (2001)
-Zuleyka Rivera (2006)

:-ฟิลิปปินส์ (4 มงกุฎ)

-Gloria Días (1969)
-Margie Morgan (1973)
-Pia Wurtzbach (2015)
-Catriona Gray (2018)

:-แม็กซิโก, สวีเดน, อาฟริกาใต้ และอินเดีย (ประเทศละ 3 มงกุฎ)

-แม็กซิโก : Lupita Jones (1991), Ximena Navarrete (2010) และ Andrea Meza (2020).
-สวีเดน : Hillevi Rombin (1955), Margareta Arvidsson (1966) and Yvonne Ryding (1984).
-อัฟริกาใต้ : Margaret Gradiner (1978), Demi Leigh Nel Peters (2017) and Zozibini Tunzi (2019).
-อินเดีย : SushmitaSen (1994), Lara Dutta (2000), and Harnaaz Sandhu (2021)

ส่วนประเทศไทยของเรานั้น มี “มิสยูนิเวิร์ส” หรือ “นางงามจักรวาล” มาแล้วสองคน คนแรกคือ “อาภัสรา หงสกุล” ในปี 1965 และ “ปุ๋ย” ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ในปี 1988 โดยไทยเราเป็นเจ้าของมงกุฎจักรวาลสองมง เท่ากับบราซิล, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, โคลัมเบีย, แคนาดา, ออสเตรเลีย, ฟินแลนด์, ทรินิแดดและโทบาโก้

ต้องรอลุ้นกันในวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ว่า “แอนโทเนีย โพซิ้ว” มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ของพวกเรา จะทำให้ความฝันของชาวไทยในการเป็นเจ้าของมงกุฎจักรวาลมงที่สาม เป็นจริงได้หรือไม่…


โดยทีมข่าวสยามทาวน์ยูเอส






แอนโทเนีย โพซิ้ว มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2023



 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส
08-05-2025 ผู้ใช้รถเตรียมตัวซีด น้ำมันแคลิฟฯแตะแปดเหรียญปีหน้า (0/40)   
07-05-2025 เตือนคนเดินทางเผื่อเวลา (เยอะๆ) “เรียล ไอดี” มีผลบังคับแล้ว (0/61) 
05-05-2025 ทรัมป์พร้อมจ่าย $1,000 ให้โรบินฮู้ดที่ “เนรเทศตัวเอง” (0/163) 
03-05-2025 บทความ : “ศึกสีผิว” บนบรรทัดฐาน “อเมริกัน-แวลลู” ยุคทรัมป์ (0/139) 
02-05-2025 ไปไหม! “ทัวร์ชมคลื่นเรืองแสง” เมืองเดน่าพอยท์ (0/137) 

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
629
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข