ข่าวคนไทยในอเมริกา
รายงานหน้าหนึ่ง : สถานการณ์ไฟป่าแคลิฟฯ

สถานการณ์ไฟป่าแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ยังคงน่าเป็นห่วง หลังกระแสลม ซานตาอาน่า กระหน่ำรุนแรงอีกรอบตลอดวันพุธที่ 30 ตุลาคม หวั่นไฟป่าหลายจุดที่ควบคุมได้แล้ว กลับลุกโหมใหม่อีกรอบ

สำนักงานพยากรณ์อากาศแห่งชาติ สำนักงานลอส แอนเจลิส ออกประกาศเตือนประชาชนเมื่อวันพุธที่ 30 ตุลาคมว่า ในวันดังกล่าว กระแสลมซานตาอาน่า ที่พัดผ่านแคลิฟอร์เนียตอนล่าง จะมีความรุนแรงมากที่สุดนับจากปี 2007 เป็นต้นมา ก่อนจะค่อยๆ แผ่วเบาลงในวันพฤหัสที่ 31 ตุลาคม ซึ่งกระแสลมแรงจัดดังกล่าว จะยิ่งทำให้สถานการณ์ไฟป่าในหลายๆ จุดของแคลิฟอร์เนียใต้ มีความเลวร้ายยิ่งขึ้น

โดยประกาศเตือนอันตรายจากระแสลมซานตาอาน่า ดังกล่าว ระบุว่าพื้นที่ที่ถือว่ามีอันตรายที่สุดคือ แอลเอ เคาน์ตี้ และเวนทูร่า เคาน์ตี้ เพราะกระแสลมร้อนที่พัดแรง เมื่อบวกกับความชื้นสัมพัทธ์ในสองเคาน์ตี้ ที่ลดลงเหลือเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลาดังกล่าว ถือว่าว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า หรือการลุกลามของไฟป่าที่สูงมาก

ข่าวบอกด้วยว่า ประกาศเตือนอันตรายจากกระแสลมซานตาอาน่าครั้งนี้ ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะแคลิฟอร์เนียตอนใต้เท่านั้น แต่รวมถึงหลายรัฐในฝั่งตะวันตกด้วย

โดยในช่วงบ่ายของวันพุธที่ 30 ตุลาคม ซึ่งความรุนแรงของลมอยู่ที่เกือบ 80 ไมล์ต่อชั่วโมงนั้น สถานีข่าวเคทีอีซี ได้ทำการสรุปสถานการณ์ไฟป่าจุดต่างๆ เอาไว้ดังนี้

อีซีไฟร์ (Easy Fire) ในเซมิ แวลเล่ย์

เป็นไฟป่าจุดล่าสุดที่เกิดขึ้นในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ซึ่งจนถึงเมื่อเช้าวันพุธที่ 30 ตุลาคม ได้ทำลายพื้นที่ไปแล้วเกือบๆ 1,000 เอเคอร์ โดยเจ้าหน้าที่ได้พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะป้องกันไม่ให้ อีซี่ไฟร์ ลุกลามเข้าไปถึงห้องสมุดโรนัลด์ เรแกน (the Ronald Reagan Presidential Library) ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ของอเมริกาจำนวนมาก ก่อนที่จะควบคุมเพลิงได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ในช่วงเย็นของวันพุธ

แต่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงระบุว่าจะยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์ไฟป่าจุดนี้อย่างใกล้ชิด เพราะตราบใดที่ยังคงมีกระแสลมซานตาอาน่า ความเสี่ยงที่ไฟป่าจะกลับมาลุกไหม้อีกครั้งก็ยังคงมีอยู่

อีซีไฟร์ ซึ่งลุกลามอย่างรวดเร็ว เพราะได้แรงส่งจากกระแสลมซานตาอาน่า ที่พัดแรงถึง 78 ไมล์ต่อชั่วโมง เป็นเหตุให้ต้องมีการอพยพประชาชน และปิดโรงเรียนหลายแห่งในเวนทูร่า เคาน์ตี้ ตลอดวันพุธ ก่อนจะมีการยกเลิกประกาศเตือนภัยในช่วงเย็น

เก็ตตี้ ไฟร์ (Getty Fire)

เก็ตตี้ไฟร์ ลุกไหม้รุนแรงตั้งแต่วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม และทำลายพื้นที่รกร้างบนลอส แอนเจลิส ฮิลล์ ประมาณ 745 เอเคอร์ ก่อนที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะควบคุมเพลิงได้ในช่วงเย็นของวันที่ 30 ตุลาคม ท่ามกลางความหวาดเสียวของชาวอเมริกันทั้งประเทศ เพราะไฟป่าเกิดขึ้นใกล้ พิพิธภัณฑ์เก็ตตี้ ซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงผลงานศิลปะของบรรดาศิลปินระดับโลกเป็นจำนวนมาก

โดยความชื่นสัมพัทธ์ที่ลดเหลือเลขตัวเดียวในช่วงข้ามคืน บวกกับกระแสลมซานตาอาน่า มีส่วนอย่างยิ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่ประสบความยากลำบาก และต้องใช้เวลายาวนานในการควบคุมเพลิง โดยข่าวบอกว่ากระแสลมในบริเวณดังกล่าวรุนแรงถึง 70 ไมล์ต่อชั่วโมงในวันที่ 30 ตุลาคม

นอกจากนี้ เก็ตตี้ไฟร์ ยังเป็นผลให้มีการอพยพประชาชนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของฟรีเวย์ 405 และทางใต้ของถนน Mulholland Dr.

ล่าสุด เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนออกมาประกาศว่าต้นเหตุของ เก็ตตี้ไฟร์ เกิดจากการกิ่งแห้งของต้นยูคาลิปตัส บนเนินเขา ถูกลมพัดจนหักลงกระแทกกับสายไฟฟ้า (ของการประปาและไฟฟ้าของลอส แอนเจลิส) จนเป็นเหตุให้เกิดประกายไฟบนหญ้าแห้ง และลุกลามเป็นไฟป่าขนาดใหญ่ดังกล่าว

คินเคด ไฟร์ (Kincade Fire)

คินเคทไฟร์ ตอนเหนือของแคลิฟอร์เนีย ทำลายพื้นที่ไปแล้วถึง 76,825 เอเคอร์ในช่วงเช้าของวันที่ 30 ตุลาคม โดยในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ข่าวบอกว่าเจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถคุมเพลิงได้แล้วประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์

คินเคท ไฟร์ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ต้องประกาศแนะนำให้ผู้คนมากกว่าแสนคนใน โซโนม่า เคาน์ตี้ อพยพโดยสมัครใจ โดยประกาศดังกล่าวยังคงมีผลจนถึงค่ำวันที่ 30 ตุลาคม

กระแสลมที่พัดแรงประมาณ 50-55 ไมล์ต่อชั่วโมงในย่าน นอร์ธ เบย์ตั้งแต่ค่ำวันอังคาร ต่อเนื่องมาถึงวันพุธเช้า ก่อนจะเบาลงเหลือประมาณ 30-40 ไมล์ต่อชั่วโมง เป็นส่วนเสริมให้คิดเคน ไฟร์ ทำลายพื้นที่ได้มากมายอย่างที่ปรากฎ

ฮิลล์ ไฟร์ (Hill Fire)

เป็นไฟป่าที่ลุกลามอยู่ที่ จูรูป้า แวลเล่ย์ ในริเวอร์ไซด์ เคาน์ตี้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตะวันออกของลอส แอนเจลิส โดยจนถึงเย็นวันที่ 30 ตุลาคม เปลวเพลิงได้เผาผลาญพื้นที่ไปแล้วประมาณ 628 เอเคอร์ ขณะที่เจ้าหน้าที่สามารถคุมเพลิงได้เพียงประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
















 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส

แสดงความคิดเห็น

Name :
 
Detail :
 



ฉบับที่
597
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข