ดูโลก ดูธรรม และดูใจ
โดย ดร.พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ เจ้าอาวาสวัดพุทธปัญญา
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์


ภาพโดย Natcha Sillapaanan




พุทธศาสนิกชนหลายท่าน เคยสนทนาและตั้งคำถามว่า พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ใช่หรือไม่ ถ้า เป็นวิทยาศาสตร์จะเป็นได้ในแง่ไหน นับเป็นบทสนทนาและคำถามที่ประเทืองความรู้อย่างแท้จริง การที่จะตอบว่าพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่ ถ้าพิจารณาถึงพุทธศาสนาที่เราพบเห็นอยู่โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน พระพุทธศาสนามิได้เป็นเฉพาะเจาะจงว่า เป็นวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นได้อีกหลายอย่าง เช่นวัฒนธรรม ประเพณี จริยธรรม ปรัชญา จิตวิทยา อภิปรัชญา ตามหลักการที่จะพึงเปรียบเทียบกันได้

ถ้าจะนำหลักการขั้นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันมาแต่โบราณ พุทธศาสนาในบางส่วน มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์และมีเอกลักษณ์แห่งพุทธศาสตร์ที่วิทยาศาสตร์ยังเข้าไม่ถึงด้วย ก่อนที่จะได้เปรียบเทียบว่า พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่อย่างไร ลองพิจารณาดูไปพร้อมๆกันดังนี้

1 การตั้งข้อสังเกต (Observation) คือ การตั้งข้อสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเน้นโลกในส่วนที่เป็นธรรมชาติ สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจสังเกตศึกษาต่อเนื่องอย่างจริงจังล้วนเป็นเรื่องของธรรมชาติทั้งสิ้น ข้อนี้ถ้าเปรียบเทียบกับพระพุทธศาสนาตรงกับพระพุทธศาสนาหลายอย่าง การปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนาทุกเรื่องล้วนต้องสังเกตธรรมชาติทั้งสิ้น เช่น เรื่องของสติปัฏฐาน อันเป็นหลักการปฏิบัติภาวนาสำคัญในพระพุทธศาสนาจะใช้คำว่า อนุปัสสนา แปลว่า ตามดู ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Observation ในสติปัฏฐาน 4 พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้ตามดูกาย ตามดูความรู้สึก ตามดูจิต และตามดูสภาวธรรม กล่าวคือ การศึกษาและปฏิบัติสมาธิภาวนาในพระพุทธศาสนาผู้ปฏิบัติต้องสังเกตศึกษาอยู่ใน 4 เรื่องนี้อย่างจริงจัง ความสอดคล้องของพุทธศาสนากับวิทยาศาตร์ในข้อนี้อยู่ที่ การตั้งข้อสังเกตและการตามดู นับเป็นจุดร่วมของพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ทีเดียว ประเด็นต่อมา ตามดูและสังเกตอะไร สิ่งที่นำมาตามดูลและตั้งข้อสังเกตคือ ธรรมชาติ เพราะ กาย เวทนา จิตและสภาวธรรม ล้วนเป็นธรรมชาติแท้ๆ

2 ตั้งข้อสมมติฐาน (Hypothesis) ในทางวิทยาศาสตร์นักวิทยาศาสตร์จะตั้งข้อสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากสิ่งนั้น หรือ มาจากเหตุนั้นแล้วตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นมา เช่น ทฤษฎีสัมพันธภาพ (Relativity) ไอสไตน์กล่าวว่า เวลาสิ่งของตกลงบนพื้นนั้นจะต้องอาศัยความสัมพันธ์ ระหว่าง Mass+Object+Energy หรือ พื้นโลกนี้เป็น Mass สิ่งที่ตกลงมาจากอากาศไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ลของนิวตัน หรือ ทุเรียน ลำใย ลิ้นจี่ของใครล้วนเป็น Object เหมือนกันหมด นิวตันบอกว่า เพราะโลกมีแรงดึงดูดวัตถุทั้งหลายจึงตกลงมาบนโลกนี้ ส่วนไอสไตน์ก็ยอมรับเรื่องแรงดึงดูดนี้แต่ขยายความรู้ต่อไปว่า ต้องมีพลังเป็นตัวดึงดูด ต่อมานักวิทยาศาสตร์เรียกพลังนี้ว่าเป็นพลังที่มาจากคลื่น (Wave Energy) ซึ่งทฤษฎีสัมพันธภาพนี้ใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางธรรมชาติเรื่อยมา

ทฤษฎีสัมพันธภาพนี้ สอดคล้องกับหลักการของพระพุทธศาสนาเรื่อง อิทัปปัจจยตา เป็นอย่างมาก ทฤษฎีอิทัปปัจจยตา เปิดประเด็นสัมพันธภาพที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวางว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เป็นทฤษฎีที่สามารถรองรับทฤษฎีของวิทยาศาสตร์ทุกทฤษฎีทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตที่ตั้งอยู่บนเหตุและผล (Causality) กระบวนการเกิดขึ้นของวิญญาณเป็นตัวอย่างของทฤษฎีสัมพันธภาพและอิทัปปัจจยตาอย่างชัดเจนเช่น จักขุวิญญาณ มากจากทฤษฎีสัมพันธภาพและอิทัปปัจจยตาว่า ตา+รูป = จักขุวิญญาณ แปลว่า รู้ทางตา สัมพันธภาพหรืออิทัปปัจจยตาในที่นี้คือ ตาที่จะเห็นรูป ต้องประกอบด้วยจักขุปสาทะ คือ ประสาทการรับรู้ที่ดี ถ้าไม่มีประสาทตาที่มีคุณภาพดี การเห็นรูปเกิดขึ้นไม่ได้วิญญาณทางตาก็ไม่มี วิญญาณทางตาจะมีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย (Factors or conditions) ที่จะทำปฏิกิริยาต่อกัน หากเทียบกับทฤษฎีสัมพันธภาพก็พบความใกล้เคียงในลักษณะที่ว่า ต้องมีมวล มีพลังงานและมีวัตถุ กายนี้เป็นมวลแห่งธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่ต่างจากพื้นโลกเลย พระพุทธเจ้าทรงเรียกกายนี้ว่าเป็นโลกเหมือนกัน จักขุปสาทะ คือ ตัวพลังงานนำการรู้ และรูป คือ วัตถุที่ตามองเห็น องค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้ทำปฏิกิริยาต่อกันตามแนวทางที่อาศัยซึ่งกันและกัน หรือ อาศัยสัมพันธภาพนั่นเอง

3 การทดลอง (Experiments) เมื่อนักวิทยาศาสตร์ ตั้งข้อสมมติฐานแล้วก็จะออกแบบการทดลองเพื่อค้นหาผลว่าจะออกมาตามที่ตั้งสมมติฐานหรือไม่ ในการทดลองนั้นมีหลักอีกข้อหนึ่งว่า ต้องทดลองบ่อยๆทดลองให้มาก ยิ่งทดลองมากเท่าไรผลออกมาไม่แตกต่างกัน ก็ยิ่งจะเพิ่มความถูกต้องและความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น สำหรับพระพุทธศาสนานั้น ในการนำหลักคำสอนที่เห็นว่า ควรปฏิบัติมาปฏิบัติ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ภาวิตาให้ลงมือกระทำ เท่ากับ การทดลองของกระบวนการวิทยาศาสตร์และทรงย้ำอีกว่า พหุลีกตา แปลว่า กระทำให้มาก ซึ่งเท่ากับกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ต้องทดลองหลายๆครั้ง หรือ ชวนคนอื่นมาร่วมพิสูจน์ด้วย ตรงกับหลักกการที่ว่า เอหิปัสสิโก แปลว่า เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เมื่อทดลองแล้วก็ต้องเชิญชวนให้มาพิสูจน์กันหลายๆคน เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป

4 สรุปผลการทำดลอง(Inference) เมื่อผ่านการกระทำหรือการทำดลองแล้ว ทางวิทยาศาสตร์ใช้คำว่า อนุมาน ว่าสิ่งนั้นน่าจะเป็นไปได้ แต่ทางพระพุทธศาสนาจะชี้ลงไปว่า ที่กระทำมานั้นเป็นอย่างไร ตามคำที่ว่า รู้เห็นตามความเป็นจริง กระทำแล้วได้ผลอย่างไรก็แสดงผลออกมาอย่างนั้น ไม่ต้องตีความ ประมาณการ คาดการณ์หรือคาดคะเน ดั่งหลักที่ใช้กันในทางวิทยาศาสตร์

พุทธศาสนาในแง่มุมของวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการค้นคว้าแสวงหาความจริงจากธรรมชาติ กระบวนการแสวงหาความจริงของแต่ละประเด็น ทั้งพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ก็ใช้หลักการเดียวกัน อาจจะมีข้อแตกต่างกันบ้างแต่ไม่มากนัก จึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า พระพุทธศาสนาไม่ได้บังคับให้เชื่อ ไม่มีการข่มขู่ กดขี่หรือกดดันให้ใครนับถือ แต่พุทธศาสนาเป็นเรื่องของวิถีชีวิต (A way of life) ที่                                                                                                                     ธรรมชาติและผลที่ออกมาส่งเสริมการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะทุกชีวิต คือ ผลผลิตจากธรรมชาติเหมือนๆกัน

วัดพุทธปัญญา เมืองโพโมน่า รัฐแคลิฟอร์เนีย
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 เวลา 6.09 น.
 

 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส
12-07-2022 บันทึกไว้สมัยเรียนบาลี : ตอนที่ 50 สุดทางสายบาลี (0/2827) 
06-07-2022 บันทึกไว้สมัยเรียนบาลี : ตอนที่ 49 ฝึกฝนตนที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์ (0/656) 
28-06-2022 บันทึกไว้สมัยเรียนบาลี : ตอนที่ 48 สอบได้แต่แม่เสีย (0/622) 
20-06-2022 บันทึกไว้สมัยเรียนบาลี : ตอนที่ 47 สอบเปรียญธรรม 7 ประโยคได้ (0/687) 
07-06-2022 บันทึกไว้สมัยเรียนบาลี : ตอนที่ 46 กราบหลวงพ่อปัญญานันทะ (0/676) 

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
599
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข