ข่าวคนไทยในอเมริกา
รายงานหน้าหนึ่ง : แทมมี่บอกคนไทย “ใจเย็นๆ ประชาธิปไตยไทยกำลังเติบโต”


แทมมี ดักเวิร์ธ  เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคมที่ผ่านมา




โดย : ไทยพีบีเอส

พ.ท.หญิง ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกา จากพรรคเดโมแครต กลับไทยอีกครั้ง พร้อมฝากข้อคิดถึงคนไทย ให้ใจเย็นกับการเติบโตของประชาธิปไตย

ทันทีที่วีลแชร์คันหนึ่งเข้ามาในห้องแถลงข่าว ที่ศูนย์ American Hub สถานทูตสหรัฐฯอเมริกา บรรยากาศก็ดูเคร่งขรึมขึ้น ตรงหน้าของสื่อมวลชน 6 สำนัก คือ พ.ท.หญิง ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกา จากพรรคเดโมแครต ที่มาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากไปทำหน้าที่แม่ลูก 2 ในขณะนี้ลูกคนเล็กอายุได้ 15 เดือน

เธอยิ้ม จนทำให้บรรยากาศดูผ่อนคลายได้มาก ดิฉันคิดว่าเธอน่าจะทราบว่า วันนี้สื่อที่มาไม่ได้เป็นสายข่าวต่างประเทศทั้งหมด เธอจึงตั้งใจที่จะคุยภาษาไทยให้มากที่สุด ออกตัวว่าเรียนภาษาไทยถึงแค่ ป.3 อาจจะไม่แข็งแรง แต่ทุกคำพูดของเธอมันช่างมีพลัง

แทมมี่ เล่าว่า เธอได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า โปรดให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทรงมีพระปฏิสันถารถึงความคืบหน้าด้านการแพทย์ที่น่าสนใจ เธอไปบรรยายสร้างแรงบันดาลใจ และอบรมเชิงปฏิบัติการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และได้พบกับประธานสภา ประธานรัฐสภา ตัวแทน สส. และ สว. และได้พบกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ร่วมยินดีกับรัฐบาลไทย หลังเลือกตั้งสำเร็จ

อยากจะยกตัวอย่างอเมริกา หลังเรามีประชาธิปไตย เรามีสงครามการเมือง ฆ่ากันเอง ประเทศแตกแยก แต่สำหรับที่นี่ยังห่างไกลกับสิ่งนั้น และฉันเข้าใจดีกับคนที่ผิดหวัง อยากเห็นประชาธิปไตยไปข้างหน้าไวๆ แต่อย่ากดดันตัวเอง ฉันเห็นคนที่มีความหลงใหลในประชาธิปไตย นั่นคืออนาคตของประเทศ

ในสหรัฐฯ วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง แทมมี่ อดีตทหารผ่านศึกลูกครึ่งไทย-อเมริกัน สามารถเอาชนะใจคนในรัฐอิลินอยส์ ซึ่งเป็นรัฐใหญ่อันดับ 5 ของสหรัฐฯ เป็นทั้ง สส. และ สว. สร้างประวัติศาสตร์โดยเป็นวุฒิสมาชิกหญิงคนแรกของประเทศที่คลอดบุตรขณะดำรงตำแหน่ง อะไรคือสิ่งที่เธอคิดว่า ทำให้มาถึงจุดนี้ได้

“คนที่ลืมหลักคิดว่า ข้าราชการเป็นผู้รับใช้คนธรรมดา จะไม่ประสบความสำเร็จในการรับใช้รัฐ , ประเทศ หรือแม้แต่หมู่บ้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนึกถึงคนธรรมดาทุกๆ คนนะคะ”

 “การเป็น ส.ว. ต่างจาก ส.ส. เพราะ ด้วยจำนวน 100 คน มีระยะเวลาทำงานสมัยละ 6 ปี ก็เลยทำให้มีอำนาจมากกว่า ส.ส.ที่มี 435 คน เรามีหน้าที่สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า รัฐจะต้องทำในสิ่งที่ควรทำ เช่น การใช้เงินเพื่อสร้างสาธารณูปโภค การดูแลรัฐสวัสดิการต่างๆ”

“สิ่งที่ภูมิใจ คือ การทำงานร่วมกันทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน สามารถผ่านกฎหมายภายใต้ยุคของประธานาธิบดีทรัมป์ได้”

แต่มันก็มีสิ่งที่เธออึดอัดใจ เพราะการเป็นส่วนน้อยในสภา ทำให้ไม่สามารถโหวตกฎหมายสำคัญๆ เช่น กฎหมายอาวุธปืน ซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นนับร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในฝั่งพรรครีพับริกัน ซึ่งเธอมองว่า นี่คือความล้มเหลวของนักการเมือง

เธอบอกว่า รัฐบาลคือ หน้าตาของประเทศ ความหมายคือ ในประเทศๆ หนึ่งมีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย คนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ แต่ไม่ใช่คนทุกกลุ่มที่มีโอกาสในทางการเมือง ตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของตัวเอง เธอเปรียบมันว่า

เธอบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกๆ ประเทศควรเพิ่มสัดส่วนนักการเมืองจากคนที่มีความหลากหลาย แตกต่าง โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งมีผลการศึกษาในสหรัฐฯ ยืนยันว่า ช่วยประนีประนอมและผลักดันร่างกฎหมายสำคัญๆได้สำเร็จมากกว่าผู้ชาย

เธอยังบอกว่า ประเทศไทยเคยมีนายกรัฐมนตรีหญิงแล้ว แต่สหรัฐฯ ยังไม่เคยมีประธานาธิบดีหญิง

แน่นอนว่าในเวลานี้ นักการเมืองหญิงในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อสายใด มีความท้าทายมากมาย ดิฉันก็เลยถามเธอว่า การที่เธอเป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เป็นอดีตทหารผ่านศึก เป็นผู้พิการ เป็นผู้หญิง มีส่วนเสริมงานการเมืองอย่างไร และดีต่อความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอย่างไร

“ทุกด้านๆ ช่วยให้ดิฉันเป็น สว. ที่ดีมากขึ้น”

ก่อนที่จะเป็นแม่ ดิฉันทำงานกับคนพิการ ทหารผ่านศึก แต่พอเป็นแม่ก็รู้สึกว่าดีไม่พอ ดิฉันได้ผลักดันกฎหมายให้ทุกสนามบินในสหรัฐฯ ต้องมีห้องให้นมลูก

ดิฉันได้ร่างกฎหมายที่ดูแลทหารที่เป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน ดิฉันเป็น 1 ใน 100 สว.ที่มีความรู้เรื่องอินโด-แปซิฟิกมากที่สุด แน่นอนว่าถึงจะดูไกล แต่เดี๋ยวจะพา ส.ว. คนอื่นๆมา เพราะอินโดแปซิฟิก คือ ความมั่นคงของสหรัฐฯ และ จะต้องผลักดันความร่วมมือกันอย่างแน่นอน

และนี่คือภาพสะท้อน การเมืองไทย และความสำคัญของไทย ในสายตาวุฒิสมาชิกสหรัฐฯที่มีเชื้อสายไทยคนแรก.
โดย : ไทยพีบีเอส

พ.ท.หญิง ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกา จากพรรคเดโมแครต กลับไทยอีกครั้ง พร้อมฝากข้อคิดถึงคนไทย ให้ใจเย็นกับการเติบโตของประชาธิปไตย

ทันทีที่วีลแชร์คันหนึ่งเข้ามาในห้องแถลงข่าว ที่ศูนย์ American Hub สถานทูตสหรัฐฯอเมริกา บรรยากาศก็ดูเคร่งขรึมขึ้น ตรงหน้าของสื่อมวลชน 6 สำนัก คือ พ.ท.หญิง ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกา จากพรรคเดโมแครต ที่มาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากไปทำหน้าที่แม่ลูก 2 ในขณะนี้ลูกคนเล็กอายุได้ 15 เดือน

เธอยิ้ม จนทำให้บรรยากาศดูผ่อนคลายได้มาก ดิฉันคิดว่าเธอน่าจะทราบว่า วันนี้สื่อที่มาไม่ได้เป็นสายข่าวต่างประเทศทั้งหมด เธอจึงตั้งใจที่จะคุยภาษาไทยให้มากที่สุด ออกตัวว่าเรียนภาษาไทยถึงแค่ ป.3 อาจจะไม่แข็งแรง แต่ทุกคำพูดของเธอมันช่างมีพลัง

แทมมี่ เล่าว่า เธอได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า โปรดให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทรงมีพระปฏิสันถารถึงความคืบหน้าด้านการแพทย์ที่น่าสนใจ เธอไปบรรยายสร้างแรงบันดาลใจ และอบรมเชิงปฏิบัติการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และได้พบกับประธานสภา ประธานรัฐสภา ตัวแทน สส. และ สว. และได้พบกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ร่วมยินดีกับรัฐบาลไทย หลังเลือกตั้งสำเร็จ

อยากจะยกตัวอย่างอเมริกา หลังเรามีประชาธิปไตย เรามีสงครามการเมือง ฆ่ากันเอง ประเทศแตกแยก แต่สำหรับที่นี่ยังห่างไกลกับสิ่งนั้น และฉันเข้าใจดีกับคนที่ผิดหวัง อยากเห็นประชาธิปไตยไปข้างหน้าไวๆ แต่อย่ากดดันตัวเอง ฉันเห็นคนที่มีความหลงใหลในประชาธิปไตย นั่นคืออนาคตของประเทศ

ในสหรัฐฯ วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง แทมมี่ อดีตทหารผ่านศึกลูกครึ่งไทย-อเมริกัน สามารถเอาชนะใจคนในรัฐอิลินอยส์ ซึ่งเป็นรัฐใหญ่อันดับ 5 ของสหรัฐฯ เป็นทั้ง สส. และ สว. สร้างประวัติศาสตร์โดยเป็นวุฒิสมาชิกหญิงคนแรกของประเทศที่คลอดบุตรขณะดำรงตำแหน่ง อะไรคือสิ่งที่เธอคิดว่า ทำให้มาถึงจุดนี้ได้

“คนที่ลืมหลักคิดว่า ข้าราชการเป็นผู้รับใช้คนธรรมดา จะไม่ประสบความสำเร็จในการรับใช้รัฐ , ประเทศ หรือแม้แต่หมู่บ้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนึกถึงคนธรรมดาทุกๆ คนนะคะ”

 “การเป็น ส.ว. ต่างจาก ส.ส. เพราะ ด้วยจำนวน 100 คน มีระยะเวลาทำงานสมัยละ 6 ปี ก็เลยทำให้มีอำนาจมากกว่า ส.ส.ที่มี 435 คน เรามีหน้าที่สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า รัฐจะต้องทำในสิ่งที่ควรทำ เช่น การใช้เงินเพื่อสร้างสาธารณูปโภค การดูแลรัฐสวัสดิการต่างๆ”

“สิ่งที่ภูมิใจ คือ การทำงานร่วมกันทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน สามารถผ่านกฎหมายภายใต้ยุคของประธานาธิบดีทรัมป์ได้”

แต่มันก็มีสิ่งที่เธออึดอัดใจ เพราะการเป็นส่วนน้อยในสภา ทำให้ไม่สามารถโหวตกฎหมายสำคัญๆ เช่น กฎหมายอาวุธปืน ซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นนับร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในฝั่งพรรครีพับริกัน ซึ่งเธอมองว่า นี่คือความล้มเหลวของนักการเมือง

เธอบอกว่า รัฐบาลคือ หน้าตาของประเทศ ความหมายคือ ในประเทศๆ หนึ่งมีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย คนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ แต่ไม่ใช่คนทุกกลุ่มที่มีโอกาสในทางการเมือง ตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของตัวเอง เธอเปรียบมันว่า

เธอบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกๆ ประเทศควรเพิ่มสัดส่วนนักการเมืองจากคนที่มีความหลากหลาย แตกต่าง โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งมีผลการศึกษาในสหรัฐฯ ยืนยันว่า ช่วยประนีประนอมและผลักดันร่างกฎหมายสำคัญๆได้สำเร็จมากกว่าผู้ชาย

เธอยังบอกว่า ประเทศไทยเคยมีนายกรัฐมนตรีหญิงแล้ว แต่สหรัฐฯ ยังไม่เคยมีประธานาธิบดีหญิง

แน่นอนว่าในเวลานี้ นักการเมืองหญิงในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อสายใด มีความท้าทายมากมาย ดิฉันก็เลยถามเธอว่า การที่เธอเป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เป็นอดีตทหารผ่านศึก เป็นผู้พิการ เป็นผู้หญิง มีส่วนเสริมงานการเมืองอย่างไร และดีต่อความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอย่างไร

“ทุกด้านๆ ช่วยให้ดิฉันเป็น สว. ที่ดีมากขึ้น”

ก่อนที่จะเป็นแม่ ดิฉันทำงานกับคนพิการ ทหารผ่านศึก แต่พอเป็นแม่ก็รู้สึกว่าดีไม่พอ ดิฉันได้ผลักดันกฎหมายให้ทุกสนามบินในสหรัฐฯ ต้องมีห้องให้นมลูก

ดิฉันได้ร่างกฎหมายที่ดูแลทหารที่เป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน ดิฉันเป็น 1 ใน 100 สว.ที่มีความรู้เรื่องอินโด-แปซิฟิกมากที่สุด แน่นอนว่าถึงจะดูไกล แต่เดี๋ยวจะพา ส.ว. คนอื่นๆมา เพราะอินโดแปซิฟิก คือ ความมั่นคงของสหรัฐฯ และ จะต้องผลักดันความร่วมมือกันอย่างแน่นอน

และนี่คือภาพสะท้อน การเมืองไทย และความสำคัญของไทย ในสายตาวุฒิสมาชิกสหรัฐฯที่มีเชื้อสายไทยคนแรก.
.
.

 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
597
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข