อเมริกาและแคลิฟอร์เนีย
ซานฟรานฯตามไทยแลนด์ ผ่านกม.ห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า





แอลเอ (สยามทาวน์ยูเอส) : ไทยแลนด์มิได้เป็นเพียงหนึ่งเดียวในโลกที่ “แบน” บุหรี่ไฟฟ้าแล้ว หลังเมืองซานฟรานซิสโก ผ่านกฎหมายแบบเดียวกันเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเมืองใหญ่แห่งแรกของอเมริกา ที่ปฏิเสธบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งกำลังระบาดรุนแรงในกลุ่มวัยรุ่น

รอยเตอร์รายงานข่าวว่าเมืองซานฟรานซิสโก กำลังจะเป็นเมืองใหญ่เมืองแรกของสหรัฐฯ ที่มีกฎหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า (E-cigaretts) ซึ่งกำลังแพร่หลายอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่น หลังจากเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2019 คณะผู้บริหารของซานฟรานซิสโก (Board of Supervisors) ลงมติเห็นชอบกับเทศบัญญัติว่าด้วยการห้ามขาย หรือจัดจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า จนกว่าจะผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ว่ามีความปลอดภัย และไม่มีอันตรายจากสารนิโคติน อย่างที่อ้าง

ข่าวบอกด้วยว่าหากไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ กฎหมายท้องถิ่นของซานฟรานซิสโกฉบับนี้จะมีผลในปี 2020 และว่าการขยับตัวของซานฟรานซิสโกครั้งนี้ อาจจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เมืองอื่นๆ ในอเมริกา เริ่มทำตามด้วย
 
 ในช่วงที่ผ่านมา มีความพยายามของหลายรัฐ และหลายเมืองใหญ่ในอเมริกาที่จะควบคุมการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น แต่ที่ผ่านมาทำได้แค่เพียงควบคุม “รสชาติ” ของบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ให้มีการผลิตรสชาติที่ดึงดูดเด็กๆ รวมถึงการขยับเกณฑ์อายุของผู้ซื้อบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นไปเป็น 21 ปีเท่านั้น

ก่อนหน้านี้ สภาเมืองเบฟเวอร์ลี่ฮิลล์ ของแคลิฟอร์เนีย ก็ลงมติผ่านเทศบัญญัติห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภทในเขตเมือง โดยจะมีผลในปี 2021 แต่ก็ยกเว้นสำหรับ ซิก้าร์เลาจน์ และในโรงแรมต่างๆ

ทั้งนี้ ข้อมูลของรัฐบาลกลางระบุว่า ในปีที่ผ่านมา ปริมาณผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นถึง 78 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มนักเรียนระดับไฮสกูล ขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ระบุว่า กลุ่มวัยรุ่นอเมริกันใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินเพิ่มขึ้นราว 36 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่แล้ว

ก่อนหน้านี้ องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ เคยมีคำสั่งให้บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า จัดทำรายงานว่าด้วยผลกระทบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยกำหนดให้แล้วเสร็จในปี 2018 แต่ไม่มีผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้ารายใดยื่นรายงานได้ทัน จึงมีการขยายเวลาเป็นปี 2022 และเลื่อนกลับมาเป็นปี 2021 หลังจากที่องค์การอาหารและยาฯ ถูกกดดันหนักเพราะความนิยมบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มวัยรุ่นพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เท็ด วอง โฆษกของ JUUL Labs ซึ่วเป็นผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้ารายใหญ่ และมีสำนักงานในซานฟรานซิสโก ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า เทศบัญญัติฉบับนี้ จะทำให้ผู้คนหันไปสูบบุหรี่อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นอันตรายกับสุขภาพมาก อีกทั้งเชื่อว่าจะทำให้มีการซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าในตลาดมืดมากขึ้นด้วย

และได้รับความนิยมสูงสุดในสหรัฐฯ โดยทางบริษัทระบุว่า การออกกฎแบนครั้งนี้จะส่งผลให้นักสูบหันไปสูบบุหรี่ตามเดิม และทำให้เกิดการซื้อขายในตลาดมืด ซึ่งเป็นตลาดที่ปราศจากการควบคุมมากขึ้น

ข่าวการห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าของเมืองซานฟรานซิสโก ถือเป็นข่าวใหญ่ที่สื่อมวลชนทุกค่ายให้ความสนใจ เพราะถือเป็นเมืองใหญ่เมืองแรกของอเมริกา ที่สามารถฝืนแรงต้านของอุตสาหกรรมยาสูบ และผ่านกฎหมายออกมาได้สำเร็จ และที่สำคัญ สื่อมวลชนบางค่ายได้อ้างอิงเรื่องกับประเทศไทยด้วย เช่นเว็บไซต์ Thaivisa news ได้พาดหัวข่าวว่า San Francisco Joins Thailand in Banning E-Cigarettes (ซานฟรานซิสโก จับมือประเทศไทยในการแบนบุหรี่ไฟฟ้า)

โดยคําอธิบายการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบพ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ระบุถึงรายละเอียดของกฎหมายไทยเอาไว้ว่า “ห้ามขายหรือให้บริการ ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ท่ี 9/2558 เรื่องห้ามขายหรือ ห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ายาสาหรับเติมบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า” ออกตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 “ผู้ขาย” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือท้ังจำทั้งปรับ ตามมาตรา 56 วรรคหน่ึง และกรณีเป็นผู้ผลิตหรือส่ังหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือ ปรับไม่เกินหน่ึงล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 56 วรรคสอง และ “ผู้ให้บริการ” ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 56/1 วรรคหนึ่ง และกรณีที่มี การฝ่าฝืนจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินหน่ึงล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 56/1 วรรคสอง”
.
.

 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
599
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข