ข่าวคนไทยในอเมริกา
บทความหน้าสาม : รางวัลของความคิดจากจิตอาสาของ แอนเจล่า ชิฟเล็ทท์


แอนเจล่า (น้องน้อยหน่า) ชิฟเล็ทท์ กับรางวัล Girl Scout Gold Award




ระหว่างทำกิจกรรมกับอาจารย์พีระ พิลาฤทธิ์ หัวหน้าศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศน์เพื่อคนตาบอด ในประเทศไทย







แอนเจล่ากับน้องสาว เจสสิก้า ชิฟเล็ทท์ ในงานมหกรรมดนตรีไทยและนาฎศิลป์ไทย ครั้งที่ 20  ที่เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา




โดย : กฤติยา รักแต่งาม


สาวน้อย “อนุกาชาด” แอนเจล่า (น้องน้อยหน่า) ชิฟเล็ทท์ ได้รับรางวัล Gold Award จาก Girl Scout of USA ด้วยการทำโปรเจ็คท์ช่วยเหลือนักเรียนตาบอดที่เมืองไทย โดยการอ่านหนังสืออัดเสียงทำเป็น “ออดิโอ ซีดี” และทำอักษรเบลล์สะกดคำศัพท์ ใช้นิ้วสัมผัสให้นักเรียนตาบอดสามารถอ่านเนื้อเรื่องตามได้ด้วย

แอนเจล่า ชิฟเล็ทท์ เป็น girl scout มาตั้งแต่อยู่เกรด 6 เธอทำหน้าที่อนุกาชาดที่ดีทุกซัมเมอร์ โดยอาสาสมัครไปอ่านหนังสือให้เด็กๆ รุ่นอนุบาลฟังที่ห้องสมุด Camarillo Library, นำเด็กๆ ทำงานศิลปะ และสอนเต้นรำ ก่อนเดินทางกลับเมืองไทยไปอยู่กับญาติพี่น้องเป็นเวลาสองสามเดือน เมื่อบินกลับมาก็มักจะเป็นเวลาสองสามวันก่อนโรงเรียนเปิดเสมอ

แถมทุกเย็นวันจันทร์เธอยังไปช่วยเสิร์ฟอาหารให้ผู้ไร้ที่พักอาศัยและผู้สูงวัย ที่โบสถ์ในซิตี้อันคุ้นเคย อย่างสม่ำเสมอไม่เคยว่างเว้น

นอกจากจะเป็นนักเรียนของโรงเรียน Camarillo Acorn แล้ว เธอยังเป็นศิษย์โรงเรียนพุทธศาสนาวัดไทย ลอส แอนเจลิส วันอาทิตย์ ด้วย จึงเชี่ยวชาญด้านนาฎศิลป์ไทยชนิดไม่เป็นสองรองใคร

ต้นเดือนหน้านี้เธอจะไปเป็น “อินเทิร์น” ด้าน “เว็บ ดีไซน์” ที่ Camarillo City Hall แล้ว

ทั้งหมดทั้งมวล ได้คุณแม่แทมมี่ ชิฟเล็ทท์ หรือ “คุณแม่เปิ้ล” คอยสนับสนุน และเป็นผู้คอยช่วยคิดช่วยทำมาตลอด ด้วย “ศักยภาพ” ของความเข้าใจลูกสาวเต็มที่ และมองไปถึงอนาคตว่าต่อไปจะเป็น “สาวสองเมือง” ที่มีคุณค่า สมควรบันทึก “ตำรา” อะไรลงไปในระหว่าง “การเดินทาง” บ้าง

“...พาไปเมืองไทยครั้งแรก คนเล็ก เจสสิก้า ชิฟเล็ทท์ เพิ่งได้ขวบนึง แอนเจล่าประมาณสองสามขวบ กลับทั้งสองคน เวลากลับก็อยู่ทีละสองสามเดือนแล้วก็กลับ อีกสองสามเดือนก็ไปใหม่ อยู่อีกสองสามเดือนก็กลับ เป็นแบบนี้จนโตน่ะค่ะ การเรียนภาษาไทยก็เลยเหมือนเรคคอร์ดเข้าไปในหัว พอเริ่มเอ๊กซ์โพสท์ตัวเองในโรงเรียน เปิ้ลเลยเริ่มพาไปเรียนวัดไทยฯ...

 ...พอคนเล็ก (เจสสิก้า หรือ “น้องขนุน”) สักสี่ขวบ เลยเอาไปวัดไทยฯด้วย พาไปวัดไทยฯ ก็ยังพูดได้ พออีกสองสามเดือนเริ่มได้สำเนียงฝรั่ง ก็ไม่อยากให้ลืมภาษาไทย ก็เลยพากันกลับเมืองไทยทุกซัมเมอร์ เวลาพาเขาไปไหนที่เมืองไทยก็จะได้เกิดความคิดที่ว่าน่าจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยเหลือพวกเขา เช่น เห็นคนตาบอด เห็นขอทาน คนพิการ ซึ่งสองคนนี้ทำ “คอมมิวนิตี้ เซอร์วิส” (เป็นอนุกาชาด หรือ “เกิร์ล สเก๊าท์” มาหลายปีแล้ว) จึงต้องคอยหาโปรเจ็คท์มาคอยทำให้สำเร็จ

...นื่คือลักษณะของการเป็น “เกิร์ล สเก๊าท์” ที่นี่นะคะ ตอนนี้ “แอนเจล่า” กำลังจะขึ้นซีเนียร์ ต้อง “แอพพลาย” คอลเลจ คนน้องก็กำลังจะขึ้นเกรดสิบ พอถึงเวลาเลือกโปรเจ็คท์สำหรับ “เกิร์ล สเก๊าท์” คนพี่ก็เลือกทำ “ออดิโอ ซีดี” ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัล “โกลเด้น อะวอร์ด” มา, ส่วนคนน้องก็เตรียมเรื่องการรณรงค์ให้คนใช้ถุงผ้าแทนพลาสติค โดยการสอนให้คนนำเสื้อเชิร์ทเก่าๆ มาตัดเย็บทำเป็นถุงผ้าแจกกันใช้...

 เขาเข้ากับสังคมไทยได้ เข้าใจระบบความเป็นไทย เลยกลายเป็นเรื่องประจำปีที่ทุกซัมเมอร์จะต้องกลับไทย บางทีเขาลงซัมเมอร์ก็ต้องรอจนเดือนสิงหาฯ กว่าจะได้กลับ สำหรับ “แอนเจล่า” เปิ้ลก็มานึกว่าลูกเรามีอะไรที่พอจะทำประโยชน์ให้สังคมได้ ด้วยความที่เปิ้ลเป็นอาสาช่วยครูในโรงเรียนตั้งแต่ลูกยังเด็ก เลยเลือกหนังสือเป็น ก็เลือกเอากลับเมืองไทยกว่า 90 เล่ม

...พอเลือกหนังสือได้แล้วก็บันทึกเสียงอ่านของลูกลงซีดี แล้วหาจาก Google ว่ามีองค์กรไหนรับชวงต่อจากงานที่ลูกเราทำแล้ว ก็พอดีเจออาจารย์ตาบอดคนนึงที่ “มูลนิธิคนตาบอด” ท่านเป็นหัวหน้า “ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศน์เพื่อคนตาบอด” ศูนย์ฯนี้อยู่ภายใต้ “มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์” ชื่อ อาจารย์พีระ พิลาฤทธิ์

 ...ท่านตอบรับกลับมาเร็วมาก เรายังงงว่าคนไทยเวลานี้สื่อสารกันเร็ว...ปรากฎว่า “อาจารย์พีระ” มี “ออดิโอ ไลเบอรี่” พอคุยกันเสร็จก็เลยเปลี่ยนมาเป็นภาษาเบลล์ ทำ “เบลล์ เล็ตเตอร์” ให้เขาคลำอ่าน และสะกดได้ด้วย เช่น ทำอักษรเบลล์นูนเป็นตัว “ซี” คลำต่อไปเป็นตัว “เอ” อีกตัวเป็น “ที” เขาก็ผสมกันอ่านออกว่า cat ขณะเดียวกันก็ฟัง “ออดิโอ ซีดี” ไปด้วย เป็นสำเนียงภาษาอังกฤษที่นี่ได้ด้วยโดยตรง...

...บางเล่มก็แปลเป็นภาษาไทยด้วย ตอนนี้มีหนังสืออีกเยอะเลยอยากจะเอาไปบริจาคที่เมืองไทย เมืองไทยไม่มีตรงนี้ การทำก็คือมี “ซอฟท์แวร์” ให้ใส่เข้าไป อาจารย์เขามีเว็บไซด์ โหลดลงได้เลย เปิ้ลยังอยากทำให้มากกว่านี้ เช่น ภาษาลาว จีน อะไรแบบนี้ แต่ต้องระวังเรื่องลิขสิทธิ์ เลยได้แต่ทำใช้ภายในโรงเรียน เพราะเพื่อการศึกษาจะไม่มีผลเรื่องลิขสิทธิ์...

โปรเจ็คท์นี่ เวลาเป็น “เกิร์ล สเก๊าท์” ต้องทำก่อน โปรเจ็คท์อะไรก็ได้ ต้องคิดขึ้นมา “แอนเจล่า” ก็ทำโปรเจ็คท์เรื่องหนังสืออักษรเบลล์ ออดิโอ ซีดี เข้าโรงเรียนคนตาบอดที่เมืองไทย แล้ว “เจสสิก้า” น้องสาวก็มาช่วย เพราะฉะนั้นคนได้เครดิตคือเจ้าของโปรเจ็คท์ “เจสสิก้า” จะได้ประสบการณ์ แต่ถ้าจะทำโปรเจ็คท์ของตัวเองก็ต้องคิดโปรเจ็คท์อื่น มาทำซ้ำไม่ได้...

กว่าจะได้รับรางวัล “โกลด์ อะวอร์ด” มา “แอนเจล่า” ต้องเขียน proposal ขึ้น และชี้ให้ชัดว่ามันจะมีการต่อเนื่องมั้ย ไม่ใช่ซื้อหนังสือแล้วเอาไปบริจาค มันต้องมีขั้นตอนการพิจารณาจากหน่วยเกิร์ล สเก๊าท์ ก่อน แล้วไปหาคนมาช่วยในเรื่องของขั้นตอนการทำการบริจาค แล้วเขาจะสรุปการโดเนท, ไปเอามาแปล, อัดเสียง, มี log sheets ส่ง มี report และเขาจะถามให้ตอบเยอะแยะ...

ต้องตอบว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากการทำตรงนี้ ตอบจนเขาแอพพรูฟ และต้องส่งเรื่องไปที่ Girl Scout USA ของเราอยู่เขต ซานตา บาบาร่า ออฟ แคลิฟอร์เนีย เซ็นทรัล โคสท์ ทางนี้เขาจึงจะส่งไปที่เมนอีกทีนึง ทีนี้ที่พิเศษคือ แต่ละคน ก็มี requirement ภายในเดือนนั้นเดือนนี้ เขาก็อีเมลมาบอกว่าทางนี้ dominate ให้เขา กองหรือหน่วยงานก็ส่งไปที่ เกิร์ล สเก๊าท์ แคลิฟฯ อีกทีนึง เป็น Young Women of Distinction Award เพื่อที่จะเลือกออกมาจาก “โกลด์ อวอร์ด” ทั้งหมด

...ก็เลือกออกมาอีกสิบคน เพื่อที่จะได้เป็นสิบคนของ Young Women of Distinction Award  พอเราทำให้มูลนิธิคนตาบอด เราก็มีหนังสืออีกห้าสิบเล่ม ก็ไปโดเนทให้ UNHCR (สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) ยูเอ็นเอชซีอาร์ ก็สอบถามไปที่ยูเอ็น ว่าจะเอาเข้าไปที่แค้มป์เรฟูจีนี้ได้อย่างไร เพราะเด็กๆ ในแคมป์เขาจะเรียน เขียน อ่าน ได้อย่างไร เขาก็บอกว่าเป็นเขตจำกัด เราไม่สามารถเข้าไปได้

เราเลยบอกเรามี “ออดิโอ ไลเบอรี่” ทำมาห้าสิบเล่ม เป็นหนังสือกับออดิโอ ซีดี เขาบอกเขารับ เราก็เอาไปบริจาค น้องสาวเขาก็มาช่วยกันอ่าน ช่วงซัมเมอร์เรามีเวลาจำกัด แต่พอถึงเมืองไทยเราก็ทำต่อ ใช้มือถือนี่แหละค่ะ อัดเสียงแล้วก็ลงคอมพิวเตอร์...”

กับการทำสิ่งอัน “ไม่น่าเป็นไปได้” ให้ “เป็นไปได้” เป็นสูตรสร้างสรรค์จาก “แม่” ถึง “ลูก” ที่นำความภาคภูมิใจมาสู่ครอบครัวและสังคม...เป็นสูตรที่เริ่มจากดวงใจอันอบอุ่นที่มีให้ผู้อื่น

“...เปิ้ลภูมิใจมาก เพราะรู้ว่าในขณะเป็นเด็กก็ได้เรียนรู้โดยไม่บังคับแต่ให้โอกาส แล้วดูว่าเขาชอบมั้ย สนใจอะไร ให้โอกาสเขาเลือกที่จะทำ ถ้าสมมติว่าเราไม่เคยพาไปวัดไทยฯเลย แล้วเด็ก เอ๊กซ์โพสท์ ทางอเมริกันค่อยพาไปก็จะสายเกิน เพราะลูกไม่ได้อยู่เมืองไทย ไม่ได้เห็นเมืองไทยทำเป็นกิจวัตรประจำวัน การลงทุนก็มาออกในช่วงตอนโต ตอนนี้เขาก็ปรับตัวและเรียนรู้ทั้งสองสังคม บางทีก็เหนื่อย ก็บาลานซ์เอา ถ้าไม่พาไปเลย ก็จะปรับตัวลำบากมาก...”

“แผนที่ชีวิต” แผ่นนี้ ใช่มีแต่การใช้“เวลา” เท่านั้น การเสียสละ-ทุ่มเท-สนับสนุน และทุนแห่งแรง พร้อมการไขว่คว้าหา “โอกาส” ล้วนเป็นประสิทธิภาพของ “หัวใจแม่” ที่ “ยกมือดัก กวักมือเรียก” เพรียกมาวางตรงหน้าลูกจริงๆ...


 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส
24-04-2024 จับ (ซะที) สามโจรทุบร้านไทยและ ฯลฯ กว่า 130 แห่งในแคลิฟอร์เนีย (0/155)   
23-04-2024 เตรียมปรับผังแอลเอเอ็กซ์ครั้งใหญ่ รับ “บอลโลก-โอลิมปิก (0/63) 
22-04-2024 จับโจร “งัดแมนชั่น” นายกเทศมนตรีเมืองแอลเอ (0/160) 
19-04-2024 เอาให้ชัด! ฟาสต์ฟู้ดแคลิฟอร์เนียแพงขึ้นเท่าไหร่ หลังปรับค่าแรง 20 เหรียญ (0/247) 
17-04-2024 รายได้เท่าไหร่ ถึงจะอยู่แบบ “สบายๆ” ในแคลิฟอร์เนีย (0/272) 

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
599
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข