ข่าวการเมืองไทย
‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจปฏิรูปตำรวจ 69.75% หนุนแยกระบบสอบสวน ร้อยละ 90.31 ให้บันทึกภาพและเสียง สอบปากคำ


เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 5 สิงหาคม ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  (นิด้า) เผยผลสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “ปฏิรูปตำรวจอย่างไรจึงจะได้ใจประชาชน” จากการสำรวจระหว่างวันที่ 24-29 กรกฎาคม 2560 จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษาและอาชีพ รวม 2,003 หน่วยตัวอย่าง

จากการสำรวจเรื่องการแยกระบบงานสอบสวนออกจากตำรวจเพื่อสร้างหลักประกันความเป็นอิสระและความยุติธรรมในการดำเนินคดีอาญาให้กับประชาชน พบว่า ประชาชนร้อยละ 69.75 เห็นด้วย เพราะเป็นการแยกระบบงานจับกุมและงานสอบสวนออกเป็นสัดส่วนเช่นเดียวกับในบางประเทศที่ใช้ระบบดังกล่าว ช่วยลดภาระงานตำรวจ ป้องกันการใช้อำนาจสอบสวนในทางที่ผิด สร้างความเชื่อมั่นในระบบงานสอบสวนมากขึ้น มีความโปร่งใสยุติธรรมมากขึ้นเพราะประชาชนต้องการเห็นแนวทางใหม่ในการปฏิรูปตำรวจ รองลงมาร้อยละ 24.31 ไม่เห็นด้วย เพราะการสอบสวนเป็นหน้าที่ของตำรวจ เชื่อมั่นว่าทำหน้าที่ดังกล่าวได้ดีเพราะมีประสบการณ์ หากแยกระบบงานสอบสวนอาจเกิดความซ้ำซ้อน ล่าช้า ขาดความต่อเนื่อง ร้อยละ 0.55 ระบุว่าจะเป็นหน่วยงานใดสอบสวนก็ได้ขอให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย ร้อยละ 5.39 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ

ความเห็นเรื่องการให้พนักงานอัยการมีอำนาจตรวจสอบควบคุมการสอบสวนคดีที่มีโทษจำคุกเกินห้าปี หรือคดีที่มีการร้องเรียน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.83 เห็นด้วย เพราะเป็นการป้องกันการทุจริตในระบบงานสอบสวน เพื่อความโปร่งใสเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนที่ไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย อาจโดนยัดเยียดข้อกล่าวหานำไปสู่การจับผู้ต้องหาผิดตัว ซึ่งอัยการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย มีความน่าเชื่อถือ เป็นการถ่วงดุลอำนาจ แบ่งการทำงานช่วยดูแลตรวจสอบมีความเป็นกลางมากขึ้น ขณะที่ ร้อยละ 12.83 ไม่เห็นด้วย เพราะมีฝ่ายตรวจสอบควบคุมอยู่แล้ว อัยการมีภาระงานมากอยู่แล้วอาจเกิดความซ้ำซ้อน และไม่แน่ใจเรื่องความโปร่งใสเป็นกลาง และประสบการณ์ควบคุมงานสอบสวนของอัยการ ร้อยละ 0.35 ระบุว่าขึ้นกับรูปคดี ควรพิจารณาเป็นรายคดีไป ร้อยละ 6.99 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ

ความเห็นเรื่องการออกหมายเรียกบุคคลมาแจ้งข้อหาหรือเสนอศาลออกหมายจับควรได้รับความเห็นชอบจากพนักงานอัยการ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.61 เห็นด้วย เพราะเป็นการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย จะได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ชัดเจน ป้องกันการจับแพะหรือยัดเยียดคดีให้ผู้ต้องหา สร้างความโปร่งใสยุติธรรมให้ผู้ต้องหามากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 29.15 ไม่เห็นด้วยเพราะกระบวนการต่างๆ อาจล่าช้ายุ่งยากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อรูปคดี เพราะบางคดีต้องใช้ความรวดเร็วในการออกหมายจับ และยังไม่เชื่อมั่นต่อการพิจารณาและตัดสินใจของอัยการ ร้อยละ 0.65 ระบุว่าขึ้นอยู่กับรูปคดี ควรพิจารณาเป็นรายคดีไป และร้อยละ7.59 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ

ความเห็นเรื่อง การให้มีการบันทึกภาพและเสียงการสอบปากคำบุคคลเป็นหลักฐานไว้ให้อัยการและศาลตรวจสอบได้เมื่อจำเป็นทุกคดี เว้นแต่มีเหตุจำเป็นตามที่กำหนด พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 90.31 เห็นด้วย เพราะจะได้มีหลักฐานเก็บไว้ตรวจสอบ เป็นหลักฐานที่แท้จริงไม่มีการบิดเบือน ในกรณีเกิดปัญหาการร้องเรียน เช่น การข่มขู่ผู้ต้องหา เป็นผลดีต่อผู้ต้องหาและเจ้าพนักงานสอบสวน ป้องกันความคลาดเคลื่อนของรูปคดี และสร้างมาตรฐานใหม่ในการสอบสวนหรือการให้ปากคำ ขณะที่ร้อยละ 6.84 ไม่เห็นด้วย เพราะอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป การสอบปากคำควรเป็นความลับ ทั้งนี้ ผู้ต้องหาอาจถูกบังคับหรือข่มขู่ให้พูดในสิ่งที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตของผู้ให้ปากคำ กรณีมีข้อมูลรั่วไหลออกมา ร้อยละ 0.80 ระบุว่าขึ้นอยู่กับรูปคดีควรพิจารณาเป็นรายคดี และร้อยละ 2.05 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ




 




นำเสนอข่าวโดย : Kittisuda .,
แหล่งที่มาข่าวโดย : มติชน
23-10-2019 ‘เผดิมชัย’ดีใจน้ำตาคลอ ชนะเลือกตั้งซ่อมนครปฐม (26/15760) 
06-06-2019 ‘ประยุทธ์’นำม้วนเดียวจบ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย (5/3393) 
27-03-2019 พปชร.เดินหน้าจัดรัฐบาล หนุน’ประยุทธ์’เป็นนายกฯ (37/3604) 
13-03-2019 รายงานหน้าหนึ่ง : ทำไม “มาร์ค” ไม่หนุน “บิ๊กตู่” เป็นนายกฯ (38/3763) 
13-03-2019 กกต.แจงดูเลือกตั้งนอกราชฯ พบปัญหาบ้างแต่แก้ไขทันเวลา (1/2159) 

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
599
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข