ข่าวคนไทยในอเมริกา
ยอดนำเข้าผลไม้ไทย ลดฮวบในครึ่งปี2017








บุญส่ง อนันตสุคนธ์




แอลเอ (สยามทาวน์ยูเอส) : ยอดส่งออกผลไม้ไทยมาอเมริกา “ลดฮวบ” ถึง 18 เปอร์เซ็นต์ หรือ 14,787 ตันในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา เว้นเพียง “ทุเรียนสด” และ “มังคุด” ที่แม้จะมีปริมาณนำเข้าน้อย แต่คงที่ ไม่ลบฮวบเหมือนตัวอื่น

เว็บไซต์ freshfruitportal.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข้อมูลข่าวสารในอุตสาหกรรมซื้อขายผักสดผลไม้ และถั่วต่างๆ รายงานข่าวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ถึงยอดส่งออกผลไม้จากประเทศไทยมายังอเมริกาในช่วงหกเดือนแรกของปี 2017 ว่าลดลงอย่างมาก

ข่าวอ้างข้อมูลจากกรมศุลกากรของไทยว่า ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2017 นั้น สหรัฐฯ นำเข้าผลไม้และถั่วต่างๆ จากไทยลดลง 18 เปอร์เซ็นต์เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แลว โดยเหลือเพียง 14,787 ตัน (MT) แต่หากดูที่มูลค่า (value) แล้ว ส่วนที่ลดลงกลับไม่มากนัก กล่าวคือลดลงเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 36 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.26 พันล้านบาท

มะพร้าวอ่อนของไทยถือเป็นสินค้าส่งออกมากมีปริมาณ (น้ำหนัก) มากกว่าครึ่งของผลไม้และถั่วที่มีการนำเข้าอเมริกาทั้งหมด คือมีการนำเข้าในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้มากถึง 7,087 ตัน แต่หากดูในแง่มูลค่าแล้ว มะพร้าวอ้อนกลับทำรายได้เข้าประเทศไทยเพียง 22 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากสินค้าในกลุ่มนี้ทั้งหมด คือ 8.4 ล้านดอลลาร์ หรือ 280.6 ล้านบาทเท่านั้น

มะม่วงหิมะพานต์ (Shelled cashew nuts) ทำรายได้ให้ประเทศไทยมากเป็นอันดับสองของสินค้าในกลุ่มนี้ทั้งหมด โดยมีมูลค่า 6.3 ล้านดอลลาร์ (210.9 ล้านบาท) หรือ 12 เปอรเซ็นต์ของรายได้จากสินค้าส่งออกกลุ่มนี้ทั้งหมด มีปริมาณนำเข้า 520 ตัน หรือ 25 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าในกลุ่มนี้ทั้งหมด

มะขาม (Thai tamarind) ถือเป็นสินค้าส่งออกมาอเมริกาของไทย ที่มี “ราคา” มากที่สุด เพราะแม้ว่าจะมีการนำเข้าลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 25 เปอร์เซ็นต์ แต่รายได้เข้าประเทศกลับลดลงเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 3.7 ล้านดอลลาร์​หรือ 123.5 ล้านบาท

ส่วนทุเรียนแช่แข็งจากไทยนั้น ถือว่ามีการนำเข้ามาจำหน่ายในอเมริกา ด้วยปริมาณมากเป็นอันดับสามของสินค้าผลไม้และถั่วของไทยทั้งหมด และทำรายได้ให้กับประเทศไทยมากเป็นอันดับสี่ของสินค้าในกลุ่มนี้ทั้งหมด โดยปีที่ผ่านมา ไทยมีรายได้จากการส่งทุเรียนมาอเมริกาน้อยลงถึง 31 เปอร์เซ็นต์ คือเหลือ 3.5 ล้านดอลลาร์ (116.8 ล้านบาท) เพราะอเมริกานำเข้าลดลง 26 เปอร์เซ็นต์เหลือเพียง 832 ตัน

แต่หากมองไปที่ ทุเรียนสด นั้น ข่าวบอกว่าสถานการณ์แตกต่างออกไป เพราะปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 53 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 224 ตัน ทำรายได้เพิ่มขึ้น 54 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 1.1 ล้านดอลลาร์ หรือ 36.9 ล้านบาท

ผลไม้ไทยที่ถือว่าประสบความสำเร็จในตลาดอเมริกาอีกชนิดคือ มังคุด ซึ่งข้อมูลของกรมศุลกากรบอกว่ามีทำรายได้ให้กับประเทศมากขึ้นถึง 37 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 2.6 ล้านดอลลาร์ หรือ 85.2 ล้านบาท เพราะมีการส่งออกมากขึ้นถึง 44 เปอร์เซ็นต์ เป็น 371.6 ตัน

เช่นเดียวกับมะม่วงแห้ง (dried mango) ที่มีการส่งออกมาอเมริกาเพิ่มในเชิงปริมาณถึง 166 เปอร์เซ็นต์ เป็น 122 ตัน ทำรายได้เพิ่มขึ้นถึง 94 เปอร์เซ็นต์เป็น 2.2 ล้านดอลลาร์ หรือ 72.7 ล้านบาท

ข่าวสรุปว่า ไทยมีรายได้จากการส่งออกผลไม้และถั่วต่างๆ มาอเมริกาในปี 2016 เพิ่มขึ้น 21 เปอร์เซ็นต์ เป็น 71.6 ล้านดอลลาร์ ทำให้อเมริกากลายเป็นผู้นำเข้าผลไม้อันดับสี่ของไทย โดยเบียดอินโดนีเซียให้หล่นไปอยู่อันดับห้า

จีน ถือเป็นผู้นำเข้าผลไม้ไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง โดยปีที่ผ่านมามีการนำเข้ามากถึง 524.7 ล้านดอลลาร์ แต่มีแนวโน้มว่าจะนำเข้าน้อยลงในปี 2017 นี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็มีโอกาสที่ประเทศเวียดนาม จะขยับขึ้นมาเป็นประเทศผู้นำเข้าผลไม้ไทยอันดับหนึ่งแทน

ในปี 2016 นั้น เวียดนามซื้อผลไม้จากไทยคิดเป็นมูลค่า 508 ล้านดอลลาร์ และในช่วงหกเดือนแรกของปี 2017 นี้ ยอดสั่งซื้อเกือบจะเท่ากับยอดดังกล่าวแล้ว คืออยู่ที่ 451 ล้านดอลาร์ (15 พันล้านบาท) โดยทุเรียนสด คือสินค้ายอดนิยมของเวียดนาม มีการนำเข้าเพิ่มถึง 703 เปอร์เซ็นต์ เป็น 180 ล้านดอลลาร์ (6 พันล้านบาท) เช่นเดียวกับผลไม้อื่นในกลุ่ม “ท็อปไฟว์” คือ Mata Kucing longans (เพิ่ม 182 เปอร์เซ็นต์), มังคุด (เพิ่ม 287 เปอร์เซ็นต์), ลำไย (เพิ่ม 123 เปอร์เซ็นต์), ส้มโอ (เพิ่ม 669 เปอร์เซ็นต์) และทุเรียนแช่แข็ง (เพิ่ม 687 เปอร์เซ็นต์).

อนึ่ง ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สยามทาวน์ยูเอส เคยนำเสนอข่าว “ผลไม้ไทยหมดอนาคต เชื่อ’นำเข้า’อีกไม่เกิน2ปี” โดยอ้างบทสัมภาษณ์ นายบุญส่ง อนันตสุคนธ์ ผู้บริหารบริษัท เอ็นทีดับเบิลยู อิมพอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ต (ยูเอสเอ) ผู้นำเข้าสินค้าจำพวกผักผลไม้เพียงรายเดียว ที่ยังคงนำเข้าสินค้าผลไม้สดจากประเทศไทย หลังจากที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้ไทย 6 ชนิดคือมะม่วง ลำไย มังคุด ลิ้นจี่ เงาะ และ สับปะรด มาตั้งแต่สิบปีก่อน

นายบุญส่ง อนันตสุคนธ์ บอกว่ามีหลายสาเหตุที่ทำให้การนำเข้าผลไม้ไทยไม่ประสบความสำเร็จ เช่นกระบวนการฉายรังสี อันเป็นกรรมวิธีที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ กำหนด มีผลให้คุณภาพของผลไม้บางอย่าง เช่นเงาะ มะม่วง ฯลฯ ด้อยคุณภาพลง บวกกับการแข่งขันของประเทศรอบๆ อเมริกา เช่นแม็กซิโก กัวเตมาลา ฯลฯ ที่สามารถปลูกผลไม้ไทยได้เกือบทุกชนิด เช่น มังคุด ลำไย เงาะ มะม่วง กระทั่งทุเรียนก็มีการปลูกแล้ว

“ซึ่งเงาะ มังคุด ลำไยของแม็กซิโก กัวเตมาลา พวกนี้มันกระทบเรามาก เพราะราคาเราสู้เขาไม่ได้ เรามาไกลกว่า ส่งมาทางเครื่องบินด้วย ต่ำๆ นะ เราแพงกว่าเขาสิบเหรียญ ผู้บริโภคเขาก็เห็นว่ามันก็เงาะเหมือนกัน ลำไยเหมือนกัน เขาไม่รู้ว่ารสชาติมันต่างกันยังไง ยอดขายเราเลยลดลง ลดลง” นายบุญส่ง อนันตสุคนธ์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องต้นทุนผลไม้ไทย ที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยนายบุญส่ง อนันตสุคนธ์ เล่าว่าเป็นเพราะขณะนี้ มีพ่อค้าจากประเทศจีนเข้าไปกว้านซื้อผลไม้ถึงหน้าสวน และให้ราคาสูง

“ประเทศจีนเขามากว้านซื้อผลไม้ไทยอยู่แล้ว มาเหมาถึงสวนเลย ให้ราคาดีมาก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ ตะก่อนเราซื้อมังคุดเกรดคัดนอก กิโล 70-80 เดี๋ยวนี้โน่น 250-300 มันต่างกันเยอะ ทุเรียนก็เหมือนกัน ตะก่อนเราเหมาสวน คัดเกรดมา 70-80 เดี๋ยวนี้ 150-180 มันแพงขึ้นมาเยอะ ตอนนี้ผลไม้บ้านเราขายได้ราคาดีมาก”

ซึ่งจากปัญหาต่างๆ ที่ประสบอยู่ดังกล่าวนี้ ทำให้นายบุญส่ง อนันตสุคนธ์ ซึ่งปัจจุบัน เป็นผู้นำเข้าผลไม้ไทยเพียงเจ้าเดียวของฝั่งเวสต์โคสท์ กล่าวว่า คงทำให้ตนนำเข้าผลไม้จากประเทศไทยได้อีกไม่เกินสองปีเท่านั้น.

 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




  • ¤ÇÒÁ¤Ô´àËç¹·Õè : 2

ซื้อทุเรียนสดที่ซานฟรานมากิน ปรากฏว่าเป็นทุเรียนอ่อน เสียเงิน ฟรีทำไงดีครับ

  • ¼ÙéÊè§: คนไทย
  • 73.189.119.89 Jun 07, 2018 @10:56 PM
  • ¤ÇÒÁ¤Ô´àËç¹·Õè : 1

ถ้าเราจะซื่อทุเรียนสดส่งมาให้ที่ อาคันซอได้มั่ยค่ะ

  • ¼ÙéÊè§: Armijo Alfred 5cowboyfans5@gmail.com
  • 72.206.2.116 May 13, 2018 @08:18 PM
ฉบับที่
597
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข