ข่าวคนไทยในอเมริกา
รายงานหน้าหนึ่ง : “นิว จิรายุทธ” ความภาคภูมิใจของคนไทยในอเมริกา





“นิว” จิรายุทธ ลัทธิวงศกร นักศึกษาแพทย์ปีสี่ของยูซี ซานฟรานซิสโก สกูล ออฟ เมดิซิน ถือได้ว่าเป็นคนไทยในอเมริการุ่นใหม่ ที่พวกเราควร “ภาคภูมิใจ” กับเขาเป็นอย่างยิ่ง


ไม่เพียงแค่ภาคภูมิใจกับความเก่งกาจในเชิงวิชาการของเขาเท่านั้น แต่ควรภาคภูมิใจกับการออกมายืนแถวหน้า เพื่อต่อสู้เพื่อผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะกลุ่ม “โรบินฮูด” มาตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น... ขนาดได้รับประกาศเกียรติคุณจากหน่วยงานบริการสาธารณสุขสหรัฐฯ (the U.S. Public Health Service) และได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในคนหนุ่มสาวที่น่ายกย่อง (30 Under 30) ประจำปี 2017 ของนิตยสารฟอร์บส์ มาแล้วด้วย

การออกมาต่อสู้เพื่อผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกกันคุ้นปากว่า “ดรีมเมอร์” หรือเยาวชนต่างชาติ ที่ติดตามผู้ปกครองเข้ามาอยู่ในอเมริกาแบบไม่ถูกต้องตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ของ นิว จิรายุทธ นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่ง...

ทั้งนี้เพราะตัวเขาเองก็อยู่ในสถานภาพนั้นเช่นกัน...

จิรายุทธ ลัทธิวงศกร เป็นหนึ่งใน “โรบินฮูด” เชื้อสายไทยที่มีอยู่มากมายในสหรัฐฯ โดยเขาอยู่เกินวีซ่า (ท่องเที่ยว) มาตั้งแต่อายุเก้าขวบ หลังจากที่ติดตามพ่อและแม่เดินทางเข้ามาลงหลักปักฐานเพื่อสร้างชีวิตที่ดีกว่าในแคลิฟอร์เนียภาคเหนือ เมื่อหลายปีมาแล้ว

แทนที่จะหลบอยู่ในเงามืด เพราะหวาดหวั่นการถูกเนรเทศเหมือนผู้ที่อยู่ในสภาพเดียวกับเขาส่วนใหญ่...  นิว จิรายุทธ กลับออกมาเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของกลุ่มอิมมิแกรนท์ จนมีผลงานเป็นที่ยอมรับมากมายในระยะหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงการร่วมก่อตั้งองค์กรไม่หวังผลกำไรชื่อ Pre-Health Dreamers (PHD) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 750 คน ทำงานช่วยเหลือกลุ่มดรีมเมอร์ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในสายการแพทย์และสาธารณสุขศาสตร์ ทั้งเรื่องข้อมูลที่จำเป็น และแหล่งเงินทุนต่างๆ รวมถึงทำงานในลักษณะเป็นล็อบบี้ยิสต์ ทำงานกับบรรดานักการเมือง ทั้งระดับรัฐและระดับประเทศด้วย

ว่าที่คุณหมอคนนี้บอกว่า ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากมาย ทั้งการปรับทัศนคติให้กับบรรดานักการเมือง ผู้ร่างกฎหมายทั้งหลาย เรื่อยไปจนถึงการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมทางการศึกษา การจัดหาแหล่งทุนการศึกษา เช่นทุนของรัฐบาลกลาง เงินกู้ทางการศึกษา ทุนการศึกษาของเอกชน หรือทุนการศึกษาของสถาบันการศึกษาเอง เพื่อให้เยาวชนที่อยู่แบบไม่ถูกต้องในอเมริกา มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกับคนอื่น

เขาบอกว่า PHD ทำงานใกล้ชิดกับสมาคมวิทยาลัยการแพทย์อเมริกัน หรือ American Medical Colleges (AAMC) เพื่อปรับเปลี่ยนระบบการรับนักศึกษาแพทย์ รวมถึงขยายหรือเพิ่มเติมโปรแกรมช่วยเหลือต่างๆ สำหรับนักศึกษาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยและอยู่แบบไม่ถูกต้อง ให้มากขึ้นด้วย

การทำงานในลักษณะนี้ นิว จิรายุทธ บอกว่าทำให้เขารู้สึกเข้มแข็งขึ้น

“สมาชิกหลายคนอยู่ในจุดที่ผมเคยยืนอยู่เมื่อหลายปีก่อน ผมเห็นว่าพวกเขาทำงานหนักมากแค่ไหน ต้องใช้พลังมากแค่ไหนในการฝ่าฟันไปสู่การศึกษาและเป้าหมายอาชีพของเขา... พวกเขาต่างหากคือแรงบันดาลใจ และทำให้ผมมีพลังมากขึ้น”

หน่วยงานบริการสาธารณสุขสหรัฐฯ (the U.S. Public Health Service) ประกาศเกียรติคุณของนิว จิรายุทธ ว่าเป็นนักศึกษาแพทย์ที่ทำงานในแนวเดียวกับองค์กร นั่นคือ “ปกป้อง ส่งเสริม และเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และความปลอดภัยให้กับประเทศอเมริกา”

โดยนอกเหนือจากเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร PHD แล้ว จิรายุทธ ลัทธิวงศกร ยังมีชื่ออยู่ในสภาที่ปรึกษา (President’s Advisory Council) ด้านการดูแลนักศึกษาที่มีเอกสารไม่ครบถ้วน ของ เจเน็ท นาโปลิทาโน่ ประธานมหาวิทยาลัยของรัฐแคลิฟอร์เนีย, เป็นคณะกรรมการบริหารขององค์กร Asian Health Services งานช่วยเหลือด้านสุขภาพให้กับชาวเอเชียและหมู่เกาะในย่านเบย์แอเรีย ด้วย

หนึ่งใน “แรงขับ” ที่ทำให้เด็กหนุ่มเลือดไทยออกมาเคลื่อนไหวช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสแบบเต็มตัวเช่นนี้ มาจาก “ประสบการณ์ตรง” ที่ครอบครัวของเขาประสบพบเจอมา

เขาเล่าว่าเมื่อมาถึงอเมริกาใหม่ๆ พ่อแม่ของเขาต้องทำงานหนักในร้านอาหาร เพื่อเลี้ยงดูเขาและพี่อีกสองคน โดยไม่มีระบบประกันสุขภาพใดๆ มารองรับทั้งสิ้น

“ไม่ใช่เพราะเข้าไม่ถึงประกันสุขภาพ แต่เป็นเพราะเราไม่รู้ ไม่เคยมีใครบอกเรื่องสวัสดิการ หรืออื่นๆ ที่เรามีสิทธิ์ขอรับ แม้ว่าจะอยู่แบบไม่ถูกต้องก็ตาม” นิว จิรายุทธ กล่าวและว่า “ตอนเด็กๆ ผมต้องไปหาหมอสี่ครั้งเพราะป่วยด้วยโรคผิวหนังอักเสบ คือไปหาหมอก็เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย โดยไม่เคยมีการไปหาหมอเพื่อตรวจร่างกายประจำปี เพราะเราไม่รู้ว่ามีโปรแกรมช่วยเหลืออะไรบ้าง”

หลังจากที่แม่ของเขาป่วยหนักด้วยอาการตกเลือด (hemorrhaged) และได้รับเมดิแคลฉุกเฉินแล้วนั่นแหละ... จิรายุทธ ลัทธิวงศกร จึงบอกกับตัวเองว่าจะต้องเป็นหมอ และเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสุขภาพของชุมชนด้วย...

ระหว่างศึกษาระดับปริญญาตรีที่ ยูซี เบิร์คเล่ย์ ซึ่งเขาได้รับทุนการศึกษาจากภาคเอกชน และต้องทำงานพาร์ทไทมส์ ควบคู่กันไปด้วยนั้น จิรายุทธ ลัทธิวงศกร ได้เริ่มต้นทำงานเพื่อสิทธิของกลุ่มอิมมิแกรนท์ และผู้ด้อยโอกาสต่างๆ อย่างจริงจัง เช่นเป็นผู้บริหารองค์กรของนักศึกษาชื่อ Suitcase Clinic ทำงานช่วยเหลือคนเร่ร่อน รวมถึงทำงานกับชุมชน บริหารองค์กรชื่อ Educators for Fair Consideration and Aspire เน้นการทำงานให้ความรู้กับชาวเอเชียในอเมริกาที่อยู่แบบไม่ถูกต้องเป็นหลัก ฯลฯ

จิรายุทธ ลัทธิวงศกร เชื่อว่าวิธีที่ได้ผลที่สุดในการ “เปิดใจ” ผู้คนเกี่ยวกับนโยบายอิมมิเกรชั่น หรือระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้อพยพที่มีเอกสารแสดงตัวไม่ครบถ้วน คือการบอกเล่าเรื่องราวของผู้อพยพเหล่านั้นเอง เช่นสาเหตุจำเป็นที่บีบบังคับให้ครอบครัวต้องอพยพออกจากบ้านเกิดมา “ตายเอาดาบหน้า” ที่นี่...

ในกรณีของ นิว จิรายุทธ ลัทธิวงศกร นั้น พ่อแม่ได้พาเขาและพี่อีกสองคน เดินทางมาเสี่ยงโชคในอเมริกาเพราะความจำเป็นหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ “ฟองสบู่แตก” ในยุค 1990s

“เป็นเรื่องลำบากมากในการเริ่มต้นกันใหม พ่อกับแม่เคยเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในเมืองไทย เคยบริหารธุรกิจของตัวเอง แต่อยู่ๆ เขาก็ต้องมาทำความสะอาดชักโครก มาถูพื้น ถูกผู้จัดการตะโกนด่า ซึ่งทั้งหมดนี้ พ่อกับแม่ทำเพื่อพี่ชายพี่สาว และตัวผม เพราะการมาอยู่ที่นี่หมายถึงพวกเราจะได้อยู่ในระบบการศึกษาของอเมริกา ผมแทบไม่เชื่อว่าพ่อกับแม่เสียสละมากแค่ไหน เพื่อให้เราได้รับการศึกษาที่ดี”

การเป็นนักเรียนหมอ “ดรีมเมอร์” คนแรกของยูซี ซานฟรานฯ นั้น “นิว” จิรายุทธ ลัทธิวงศกร เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมที่เรียกว่า Medical Education for the Urban Underserved (แพทย์ศาสตร์สำหรับนักศึกษาด้อยโอกาส) ของสถาบันการแพทย์ชื่อดังแห่งนี้ และในช่วงฟอลล์ของปีนี้ เขาจะลาเรียนหนึ่งปี เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านสาธารณสุขศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในแมสซาชูเส็ทท์

หนุ่มไทยคนนี้บอกว่า เขามีความตั้งใจที่จะ “รวม” การแพทย์แบบที่เรียกว่า เวชปฏิบัติปฐมภูมิ (Primary care practice) ซึ่งเขาสามารถดูแลรักษาคนไข้ที่ยากไร้หรือด้อยโอกาสในชุมชน กับการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา (advocate) และผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะ เพื่อลดปัญหาความไม่เสมอภาคเกี่ยวกับสุขอนามัยในชุมชน ควบคู่กันไป...

จากความบากบั่นมุ่งมั่น และผลการเรียนของเขา ทำให้ จิรายุทธ ลัทธิวงศกร ได้รับโอกาสต่างๆ มากมาย... เขาบอกว่าเขามีความสุขกับทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเขา แต่ยังไม่รู้สึกว่าเป็นอิสระเต็มที่นัก

หนุ่มไทยคนนี้บอกว่าเขาจะมีความสุขเต็มที่ ก็ต่อเมื่อผู้ที่อยู่ในสภาพการณ์คล้ายๆ กับเขา คือเป็นดรีมเมอร์ ที่ติดตามพ่อแม่เข้ามา ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (DACA) จะมีโอกาสเหมือนกับเขา ในการทำความฝันให้เป็นจริงเสียก่อน...

 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส
24-04-2024 จับ (ซะที) สามโจรทุบร้านไทยและ ฯลฯ กว่า 130 แห่งในแคลิฟอร์เนีย (0/27)   
23-04-2024 เตรียมปรับผังแอลเอเอ็กซ์ครั้งใหญ่ รับ “บอลโลก-โอลิมปิก (0/58) 
22-04-2024 จับโจร “งัดแมนชั่น” นายกเทศมนตรีเมืองแอลเอ (0/155) 
19-04-2024 เอาให้ชัด! ฟาสต์ฟู้ดแคลิฟอร์เนียแพงขึ้นเท่าไหร่ หลังปรับค่าแรง 20 เหรียญ (0/234) 
17-04-2024 รายได้เท่าไหร่ ถึงจะอยู่แบบ “สบายๆ” ในแคลิฟอร์เนีย (0/260) 

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




  • ¤ÇÒÁ¤Ô´àËç¹·Õè : 1

cartierlovejesduas como eu completo a quest do FA-LA-LA OGRILA se ela nao aparece pra mim eu eu tenhu reputação na shattary skyguard???
réplique bracelet homme van cleef http://www.acheterbijouxsite.com/category/van-cleef-arpels-bijoux-replique

  • ¼ÙéÊè§: réplique bracelet homme van cleef
  • 58.62.235.75 Aug 31, 2017 @03:19 PM
ฉบับที่
599
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข