ร้านใกล้เรือนเคียง
เมื่อล้มได้..ก็ลุกขึ้นใหม่ได้ กับกฏหมายล้มละลาย 7,11,13.. เรื่องน่ารู้

คอลัมน์เพื่อคุณฉบับนี้ เราจะนำคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับสาระควรรู้ และควรทำความเข้าใจกับ "กฏหมายล้มละลาย" สำหรับคุณๆ ผู้เป็นนักสู้ในสังคมธุรกิจ ซึ่งทางสำนักงานกฏหมาย เจฟฟรีย์ ซี แจ๊คสัน ( Law Offices of Jeffrey C. Jackson ) ได้นำเรื่องราวผ่านประสบการณ์หลากหลายจากการได้เป็นที่ปรึกษาทำคดีให้กับลูกความในคดีล้มละลายหลายต่อหลายคดี ทั้งการฟ้องร้องล้มละลายให้กับตัวเอง บริษัท ห้างร้าน หรือธุรกิจที่กำลังประสบปัญหา มาเป็นจุดเริ่มต้นในการแบ่งปันสาระดีๆ มาสู่คุณผู้อ่านกันค่ะ

   ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกับคำว่า ล้มละลาย หรือ Bankruptcy  ก่อนนะคะ เพราะแม้คำว่า ล้มละลาย อาจมีความหมายที่ค่อนข้างในแง่ลบกับผู้ที่มีสถานะ "ล้มละลาย" ที่อาจเกิดมาจากสาเหตุหลายประการ เช่นการดำเนินธุรกิจที่ผิดพลาด หรือเกิดจากเหตุการณ์เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนั้นๆ เป็นต้น แต่ไม่ต้องกังวล และอย่าคิดมากเลยค่ะ ..เพราะความล้มเหลว และ "ล้มละลาย" เหล่านี้ ล้วนเป็นแรงขับอย่างดีให้กับชีวิต หัวใจ และการดำเนินกิจการ เพราะแม้กระทั่ง ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของเรา ก็ยังได้ผ่านการยื่นคำร้องใน Chapter 11 มาแล้ว เพียงแต่คุณๆ ต้องลุกให้เร็ว และยืนให้เป็น ก็จะกลับไปประสบความสำเร็จได้ไม่ยากเลย..

      ทนายความ เจฟฟรีย์ ได้บอกว่าประเทศสหรัฐอเมริกานี้ ได้บัญญัติกฏหมายเพื่อให้โอกาสกับลูกหนี้ที่มีปัญหาเรื่องหนี้สิน ที่มีการจดทะเบียนประกอบธุรกิจภายในประเทศ ได้สามารถมีโอกาสฟื้นฟูกิจการของตน รวมทั้งการให้ความคุ้มครองลูกหนี้ มิให้ถูกเจ้าหนี้เรียกร้องทรัพย์สินคืน ในขณะที่ลูกหนี้อยู่ในช่วงระยะเวลาของการฟื้นฟูกิจการ หรือกำลัง "ลุกขึ้นยืน" อีกครั้ง  ภายใต้ฏหมายที่มีชื่อว่า "กฏหมายล้มละลาย" ค่ะ 

     ความเป็นมาของกฏหมายล้มละลายของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ได้มีรากฐานมาจากกฏหมายของประเทศอังกฤษที่ได้บัญญัติไว้ในราวประมาณศตวรรษที่ 16  ซึ่งได้แนวคิดจากการที่ลูกหนี้มักหลบหลีกการชำระหนี้และต้องโทษจำคุกในที่สุด หลังจากนั้นต่อมาในตอนต้นของศตวรรษที่ 18 จึงได้เริ่มเกิดแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องหนี้สิน โดยศาลได้ให้โอกาสลูกหนี้ ได้สะสางหนี้โดยการผ่อนผันการชำระคืนหนี้ได้บางส่วน เพราะลำพังการใช้บทลงโทษโดยการต้องติดคุก เพราะการติดหนี้ ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรกับลูกหนี้เลย ดังนั้นศาลจึงได้ออกกฏหมายเพื่อให้ความคุ้มครองลูกหนี้ ขณะเดียวกับที่สนับสนุนส่งเสริมการแก้ปัญหาที่เกี่ยวการเงินให้กับลูกหนี้ไปในเวลาเดียวกัน ( legal-dictionary- thefreedictionary.com/bankruptcy)  และนั่นเอง จึงเป็นที่มาของกฏหมายล้มละลายที่ได้รับการบัญญัติขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบไปด้วยบทบัญญัติจำนวนทั้งสิ้น 8 บท แต่บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการเลือกปฏิบัติของลูกหนี้ เมื่อเข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้วมีเพียง 3 บทเท่านั้น คือ บทบัญญัติที่ 7 (Chapter 7 ) หรือ แช๊ปเตอร์ 7  บทบัญญัติที่  11 (Chapter 11) หรือ แช๊ปเตอร์ 11  และบทบัญญัติที่ 13 (Chapter 13) หรือ แช๊ปเตอร์ 13  โดยที่กระบวนการทั้งหมดนั้นจะเริ่มต้นเมื่อลูกหนี้ ที่กำลังจะล้มละลายไปยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอความคุ้มครอง ซึ่งหากศาลรับฟ้อง ลูกหนี้รายนั้นๆ จะอยู่ในภาวะที่เรียกว่า " Automatic Stay " หรือ การได้รับความคุ้มครองทางกฏหมายทันที ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เจ้าหนี้ทุกรายจะไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ จากนั้นเมื่อขั้นตอนนี้ได้ถูกดำเนินการให้เจ้าหนี้ได้รับรู้แล้ว ลูกหนี้จึงสามารถเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฏหมายล้มละลาย 3 บทข้างต้นได้ โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมกับสถานภาพ และความจำเป็นของลูกหนี้แต่ละราย โดยแต่ละบทบัญญัตินั้นก็จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป และมีอะไรกันบ้างมาทำความรู้จักกันค่ะ

   1. บทบัญญัติที่ 7 (Chapter 7)  หรือ แชปเตอร์ 7 ซึ่งบริษัท หรือบุคคลที่ล้มละลายในสหรัฐอเมริกามากกว่า 90  % จะเลือกบทบัญญัติที่ 7 นี้ คือหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคล หรือบริษัทล้มละลายแล้ว ศาลจะแต่งตั้งผู้พิทักษ์ทรัพย์ ( Trustee) ให้เป็นผู้ดำเนินการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ และแบ่งแยกนำออกประมูลขายทอดตลาด เพื่อนำเงินคืนแก่เจ้าหนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม โดยทางกฏหมายล้มละลายได้มีเงื่อนไขพิเศษ กำหนดให้ลูกหนี้สามารถพิทักษ์ทรัพย์สินบางประเภทของลูกหนี้ไว้ หรือว่ายังถือเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ (Exempt- Property) นั่นหมายถึงว่าเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิยึดครอง เช่น กรมธรรมประกันชีวิต หรือเครื่องประดับอัญมณีที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 เหรียญสหรัฐ เป็นต้น อนึ่งการได้รับการยกเว้นนี้มีใช้เฉพาะบทบัญญัติที่ 7 เท่านั้น ไม่สามารถใช้ได้กับบทบัญญัติที่ 11 และบทบัญญัติที่ 13 ได้

      2. บทบัญญัติที่ 11 (Chapter 11) หรือ แช๊ปเตอร์ 11  โดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่เลือกบทบัญญัติที่ 11  นั้นหมายถึงการที่บริษัทนั้นมีความประสงค์จะขอฟื้นฟูกิจการของตน โดยหยุดพักการชำระหนี้ไว้ชั่วคราวภายใต้การดำเนินงานปกติในเบื้องต้น ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งให้บริษัทเข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้ว บริษัทจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอฟื้นฟูกิจการ โดยศาลจะพิจารณาว่ามีเหตุผลสมควรหรือไม่ที่ลูกหนี้ควรมีโอกาสที่จะได้รับการฟื้นฟูกิจการ หากมีเหตุผลสมควร ศาลจะสั่งให้ลูกหนี้นั้นฟื้นฟูกิจการ โดยเริ่มตั้งแต่การแต่งตั้ง ผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการให้เป็นผู้ร่าง และเสนอแผนเพื่อขอความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ รวมทั้งขอให้ศาลรับรองแผน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้คืน จึงถือเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการที่กำหนดไว้ตามแผน  ลูกหนี้ก็สามารถกลับเข้ามาบริหารกิจการได้ตามปกติต่อไป แต่บทบัญญัติที่ 11 นี้ มีลักษณะที่น่าสนใจบางประการ นั่นก็คือเมื่อศาลรับฟ้องแล้ว ศาลพิจารณาเห็นว่าบริษัทลูกหนี้มีพฤติกรรมเป็นที่น่าเชื่อถือ ไม่มีเจตนาฉ้อฉล อาจไม่จำเป็นต้องมีการแต่งตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาบริหารจัดการ หรือก็คือลูกหนี้ยังเป็นผู้ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการบริษัทของตนต่อไป  (Debt in Possesion)

      อย่างไรก็ตามในระหว่างการทำแผนฟื้นฟูกิจการ หากลูกหนี้มีเจ้าหนี้รายใหม่เพิ่มขึ้นมา เจ้าหนี้ใหม่ก็จะมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้เดิม โดยเจ้าหนี้ใหม่นั้น จะได้รับการชำระหนี้คืนก่อนเจ้าหนี้เดิม นอกจากนี้ กฏหมายของสหรัฐอเมริกายังให้ความคุ้มครองแก่ลูกหนี้ในช่วง 120 วันแรกที่ศาลได้รับคำฟ้องมิให้เจ้าหนี้มาเรียกร้องหรือทวงถาม โดยคุ้มครองให้ลูกหนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิทำแผนฟื้นฟูกิจการได้

        3. บทบัญญัติที่ 13 ( Chapter 13 ) หรือ แชปเตอร์ 13  ในภายใต้บทบัญญัติที่ 13 นี้ คือการที่ลูกหนี้สามารถขอผ่อนผันจ่ายชำระหนี้เป็นบางส่วนได้ ภายในระยะเวลา 3-5 ปี โดยไม่ต้องมีผู้พิทักษ์ทรัพย์มาดูแล และแบ่งแยกขายทรัพย์สินของตน เหมือนกับลูกหนี้ที่เลือกบทบัญญัติที่ 7 ทั้งนี้ ยังอยู่ในดุลยพินิจของศาลต้องให้ความเห็นชอบก่อนว่า  ลูกหนี้รายนั้นๆ ยังพอจะมีความสามารถในการชำระหนี้บางส่วนได้หรือไม่ ดังนั้นบทบัญญัติที่ 13 จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกหนี้ที่กำลังคิดที่จะเลือกบทบัญญัติที่ 7 เพียงแต่บทบัญญัติที่ 13 จะเหมาะสมกับลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำอยู่ ( Wage Earner) และมีมูลค่าหนี้ไม่สูงมากนัก และนั่นคือสาระน่ารู้ของกฏหมายล้มละลาย ที่เราได้นำมาฝากคุณผู้อ่านฉบับนี้กันนะคะ

        และในตอนท้ายของคอลัมน์นี้ ทนายความเจฟฟรีย์ ยังได้ฝากแง่คิดกับผู้ที่ล้ม แล้วอาจกำลังคิด " ท้อแท้ " ว่า การยื่นคำร้องต่อศาลขอเป็นบุคคลล้มละลาย หรือบริษัทล้มละลายก็ดี ถือเป็นเรื่องปกติมาก ซึ่งสามารถพบเห็นได้จากผู้ที่มีชื่อเสียงมากมายในสหรัฐอเมริกา ไม่เว้นแม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ และธุรกิจต่างๆ แม้กระทั่ง ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมพ์ ที่เคยบริหารกิจการมา ต่างก็เคยยื่นคำร้องภายใต้บทบัญญัติที่ 11 มาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้น หากคุณผู้อ่านท่านใดกำลังประสบภาวะที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อจะได้ลุกขึ้นใหม่อีกครั้ง อย่ารีรอค่ะ เพราะอย่างน้อยทางสำนักงานกฏหมาย เจฟฟรีย์ ยินดีให้คำปรึกษาแนะนำผู้ที่เดือดร้อนเรื่องหนี้สินทุกท่าน เพียงโทรนัดหมายเพื่อขอคำปรึกษากับทนายความ Jeffrey C. Jackson ได้ที่ 323-702-0788 เท่านั้นค่ะ

      คุณผู้อ่านคะ อะไรกันบนโลกใบนี้ ที่ทำให้มนุษย์ได้รับความกดดันจากความผิดพลาดที่สามารถเกิดได้กับทุกคน ให้ดูเป็นมนุษย์ที่ไร้สมรรถภาพทางความคิดในการบริหารกิจการอย่างสุจริต หลายคนต้องเผชิญกับความอับอายจากสังคมแม้ว่าจะพยายามลุกขึ้นยืนอีกครั้ง ความผิดพลาดที่เกิดจากการขาดประสบการณ์ หรือภาวะแวดล้อมล้วนแต่เป็นสิ่งที่สังคมควรให้อภัย แต่ความผิดพลาดที่เกิดจากการตั้งใจทุจริต แล้วจึงเกิดความผิดพลาดต่างหากมิใช่หรือ ที่สังคมควรกดดันลงโทษ แล้วพบกับเราที่นี่ กับสาระดีๆ ฉบับหน้านะคะ




 




นำเสนอข่าวโดย : Kittisuda .,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส
14-02-2024 ด่วนรัฐแจกเงินให้คนซื้อบ้านใครอยากได้ต้องรีบอ่าน มาก่อนได้ก่อนช้าหมดเรามีคำตอบพร้อมแนะวิธีซื้อบ้านที่คุณต้องรู้ (0/534) 
05-02-2024 บทความ: ทำความรู้จัก ภูชวิน “Gather” บริรักษ์คูเจริญ -ผู้นำการฟื้นฟูเทคโนโลยีของไทย (0/199) 
20-04-2022 อาณาจักรสระว่ายน้ำของ Pechanga Resort Casino จะกลับมาเปิดให้บริการได้ทันเวลาในช่วงสปริงเบรก (0/3950) 
29-01-2022 Pechanga Resort Casino ฉลองตรุษจีน ปีเสิอ ด้วยเมนูสุดพิเศษ (0/1399) 
24-12-2021 สมัครขอส่วนลด $50 บิลค่าอินเตอร์เน็ตรายเดือน คนมีรายได้ต่ำ (0/1193) 

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
597
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข